ภาพประชาชน บนถนนเจริญกรุง ครั้งเพิ่งตัดถนนขึ้นมาใหม่ๆ
เมื่อมีการตัดถนน นิวโรด หรือเจริญกรุงขึ้นมานั้น ความเจริญและผู้คนบริเวณใกล้เคียงก็พลอยเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาด้วย เช่นย่านถนนขวาง ซึ่งเดิมเป็นเพียงย่านชนบทมีทุ่งนา หมู่บ้านเล็กๆ บ้านเรือนและจำนวนผู้คนอยู่อาศัยน้อย เรือนแต่ละหลังล้วนห่างไกลกันและพื้นที่ส่วนมากเป็นทุ่งนา .
ต่อมาเกิดการสร้างถนนขวางขึ้น ถนนขวาง ถูกสร้างมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ เดิมทีถนนสายนี้สร้างมาจากคันดินที่เกิดจากดินที่ทำการการขุดคลองเพื่อเชื่อมคลองบางรักกับคลองถนนตรง ต่อมาจึงมีการเอาดินมาสมทบจนกลายมาเป็นถนนสัญจร ชื่อถนนขวาง
ต่อมาชาวต่างชาติได้มีการนำ "เครื่องสีลม" หรือ "กังหันลม" มาติดตั้งซึ่งใช้สำหรับการวิดน้ำที่บริเวณทุ่งแถวๆ ถนนขวางนี้โดยที่บริเวณรอบๆ ยังเป็นเพียงทุ่งนาที่โล่งเตียนไร้สิ่งปลูกสร้างอื่นใดที่มองเห็นสูงเด่นชัดเท่า
เมื่อมีการติดตั้งเครืองสีลม บริเวณนั้นขึ้นเครื่องสีลมที่ตั้งตระหง่านในตอนนั้นจึงเด่นและจึงถูกนำมาใช้เรียกชื่อชื่อถนนนี้ว่า "ถนนสีลม "
ในสมัยพระจอมเกล้ารัชกาลที่ ๔ เมื่อพ.ศ. ปี พ.ศ. ๒๔๐๔ ในช่วงนั้นสยามต้องการพัฒนามีชาวต่างชาติเข้ามาที่สยามมากจึงเกิดมีกลุ่มกงสุลขึ้นมาในสยาม.
กลุ่มกงสุลและพ่อค้าชาวต่างชาติเหล่านี้ได้รวมตัวกันยื่นเรื่องต่อกรมท่า เพื่อฎีกาขอให้ทางสยามสร้างถนน โดยให้เหตุผล ดังนี้ "ชาวยุโรปเคยขี่รถ ขี่ม้าเที่ยวชมชนบทแต่ได้เกิดความไม่สดวกสบาย เพราะสยามใยยุคสมัยนั้นยังไม่เจริญนัก
ชนบทรอบนอกยังไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปท่องเที่ยวได้สดวก และชาวต่างชาติพากันเจ็บป่วยไข้อยู่เป็นเนือง ๆ จึงได้ขอยื่นถวายฎีกาแก่ เจ้ากรุงสยามล้นเกล้ารัขกาลที่ ๔ ถึงปัญหานี้ ..
ล้นเกล้า รัชกาลที่ ๔ เมื่อได้รับข้อร้องเรียนนี้ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญ และทรงเล็งถึงความเจริญพัฒนาของบ้านเมืองในอนาคต จึงทรงออกพระบรมราชโองการให้ตัดถนนขึ้นใหม่อีก ๓ สาย อันได้แก่ ถนนเจริญกรุง ถนนหัวลำโพง และถนนขวาง (สีลม) ขึ้นใหม่
ต่อมาเมื่อรัชสมัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ จึงได้มีการตัดถนนใหม่ขึ้นเพิ่มเติม หนึ่งในนั้น คือ ถนนสาทรที่มีความสำคัญในปัจจุบันไม่ต่างจากถนนสีลม และปัจจุบันเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งในอดีตพื้นที่แถบนี้คือ ชนบทชานเมืองที่ห่างไกล .
สวัสดี ณ ที่ชุมชลหนึ่งในย่านริมถนนขวาง หรือปัจจุบันคือสีลม เป็นที่อยู่อาศัยของผู้คน เป็นชุมชนขนาดเล็กๆ เท่านั้น จากภาพเป็นตลาดเล็กๆ ริมถนนขวางบริเวณใกล้เคียงเจริญกรุงในอดีตกาล.
ภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕ หรือปี ค.ศ. 1902. ภาพใต้ร่มพระบารมีพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า สยาม.
ภาพอดีตบอกเล่าวิถีชีวิตผู้คนรุ่นเก่าก่อน.ที่ชุนนุมชนริมถนนขวาง หรือถนนสีลมในปัจจุบัน.