อิสรภาพสยามแลกด้วยเงิน๓ล้านฟรังก์
เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) เกิดการรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ "วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อกองทัพฝรั่งเศสส่งเรือรบ ๒ ลำ คือ เรือแองกองสตองต์ และเรือโกแมต์ รุกล้ำฝ่าสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามา หมู่ปืนใหญ่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าและหมู่เรือรบซึ่งเป็นแนวป้องกันของไทยได้ยิงสกัดถูกเรือสินค้าเสียหาย เรือรบของฝรั่งเศสจึงยิงตอบโต้
โดนเรือมกุฎราชกุมารของไทยเสียหาย และทหารไทยเสียชีวิต ๘ นายและบาทเจ็บ ๔๐ นาย ส่วนทหารฝรั่งเศสเสียชีวิต ๓ นายและบาดเจ็บอีก ๓ นาย
ฝรั่งเศสได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยอมรับว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นของฝรั่งเศส และได้เรียกร้องค่าเสียหายจากการปะทะกัน จนได้รับความเสียหาย พอฝรั่งเศสส่งเรือเข้ามาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วหันกระบอกปืน มาทางพระบรมมหาราชและยื่นคำขาดให้ทางไทยหรือสยามในขณะนั้น ยกดินแดนฝั่งซ้าย แม่น้ำโขง หรือลาวในปัจจุบัน และจ่ายสินสงครามเพื่อเป็นค่าเสียหายแก่ทรัพย์และบุคลากร ของฝรั่งเศสจำนวนเงินทั้งสิ้น ๓,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ โดยเป็นเงินเหรียญทั้งหมด ภายใน ๔๘ ชั่วโมง
โดนเรือมกุฎราชกุมารของไทยเสียหาย และทหารไทยเสียชีวิต ๘ นายและบาทเจ็บ ๔๐ นาย ส่วนทหารฝรั่งเศสเสียชีวิต ๓ นายและบาดเจ็บอีก ๓ นาย
ฝรั่งเศสได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยอมรับว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นของฝรั่งเศส และได้เรียกร้องค่าเสียหายจากการปะทะกัน จนได้รับความเสียหาย พอฝรั่งเศสส่งเรือเข้ามาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วหันกระบอกปืน มาทางพระบรมมหาราชและยื่นคำขาดให้ทางไทยหรือสยามในขณะนั้น ยกดินแดนฝั่งซ้าย แม่น้ำโขง หรือลาวในปัจจุบัน และจ่ายสินสงครามเพื่อเป็นค่าเสียหายแก่ทรัพย์และบุคลากร ของฝรั่งเศสจำนวนเงินทั้งสิ้น ๓,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ โดยเป็นเงินเหรียญทั้งหมด ภายใน ๔๘ ชั่วโมง
ทางพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงต้องทรงนำเอา "เงินถุงแดง" ที่เก็บมาตั้งแต่สมัยของรัชกาลที่ ๓ มาใช้จ่ายในยามขับขันเช่นนี้ "เงินถุงแดง" คือเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงแต่งสำเภาสินค้าไปค้าขายกับทางเมืองจีน ทรงเก็บสะสมเอาไว้ตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์โปรดฯ ให้ใส่ถุงแดงเก็บไว้ข้างพระแท่นบรรทม จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า "เงินพระคลังข้างที่" คำว่า "พระคลังข้างที่" ในเวลาต่อมาก็เนื่องมาจากเงินข้างพระแท่นบรรทมนี้
โดยทรงตรัสแต่ขุนนางว่านี่จะเป็นเงินไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง เป็นทรัพย์สินส่วนประองค์ที่ทรงพระราชทานไว้ให้เป็นทุนสำรองให้แก่แผ่นดินสำหรับใช้ ในยามบ้านเมืองอยู่ในภาวะคับขัน หรืออยู่ในสภาวะที่จำเป็นต้องใช้เงินเหล่านี้ในยามฉุกเฉิน
เงินถุงแดงนี้ เป็นเงินจากการเก็บหอมรอมริบของพระองค์ในการได้กำไรจากการ ค้าขายกับสำเภาสินค้าต่าง ๆ ทรงเก็บสะสมไว้นำใส่ถุงผ้าสีแดงแยกเป็นถุง ปิดปากถุงเก็บ เงินถุงแดงบรรจุเป็นเหรียญทองเงินสเปนเป็นรูปนกอินทรี มีการตอกตราจักรและมงกุฎไว้บนเหรียญนก
เข้าในหีบกำปั่นข้างพระแท่นบรรทม เก็บไว้เรื่อย ๆ มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แยกส่วนจากเงินในท้องพระคลัง เงินนี้มักจะพูดกันง่าย ๆ พอเข้าใจว่า เงินถุงแดง คือ เงินของพระมหากษัตริย์ ให้แก่พระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ ไปที่จะขึ้นครองราชย์มีสิทธิใช้ มิใช่เงินส่วนพระองค์ขององค์ แต่เป็นเงินของพระมหากษัตริย์ไว้ใช้แก้ปัญหาบ้านเมืองในยามทุกข์เข็ญ
โดยทรงตรัสแต่ขุนนางว่านี่จะเป็นเงินไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง เป็นทรัพย์สินส่วนประองค์ที่ทรงพระราชทานไว้ให้เป็นทุนสำรองให้แก่แผ่นดินสำหรับใช้ ในยามบ้านเมืองอยู่ในภาวะคับขัน หรืออยู่ในสภาวะที่จำเป็นต้องใช้เงินเหล่านี้ในยามฉุกเฉิน
เงินถุงแดงนี้ เป็นเงินจากการเก็บหอมรอมริบของพระองค์ในการได้กำไรจากการ ค้าขายกับสำเภาสินค้าต่าง ๆ ทรงเก็บสะสมไว้นำใส่ถุงผ้าสีแดงแยกเป็นถุง ปิดปากถุงเก็บ เงินถุงแดงบรรจุเป็นเหรียญทองเงินสเปนเป็นรูปนกอินทรี มีการตอกตราจักรและมงกุฎไว้บนเหรียญนก
เข้าในหีบกำปั่นข้างพระแท่นบรรทม เก็บไว้เรื่อย ๆ มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แยกส่วนจากเงินในท้องพระคลัง เงินนี้มักจะพูดกันง่าย ๆ พอเข้าใจว่า เงินถุงแดง คือ เงินของพระมหากษัตริย์ ให้แก่พระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ ไปที่จะขึ้นครองราชย์มีสิทธิใช้ มิใช่เงินส่วนพระองค์ขององค์ แต่เป็นเงินของพระมหากษัตริย์ไว้ใช้แก้ปัญหาบ้านเมืองในยามทุกข์เข็ญ
ในเอกสารพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ โดยเจ้าพระยาทิพากรวงศามหาโกษาธิบดี ได้กล่าวถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ที่สำคัญเมื่อใกล้สวรรคตพระราชทานแก่ขุนนาง ข้าราชบริพารที่เข้าเฝ้าฯ ไว้ว่า
"...การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว ทุกวันนี้คิดสละห่วงใยได้หมด อาลัยแต่วัดวา สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็มี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทำนุบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายในราชการแผ่นดินมีอยู่ ๔๐,๐๐๐ ชั่งนี้ ขอสัก ๑๐,๐๐๐ ชั่งเถิดให้ไว้บำรุงวัดวาที่ยังค้างอยู่..."
จากพระราชดำรัสดังกล่าวแสดงถึงพระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของรัชกาลที่ ๓ ทรงเห็นภัยคุกคามเอกราชสยามจากชาติตะวันตกในยุคนั้น ทรงห่วงใยบ้านเมืองและวัดวาอารามที่ทรงสร้างขึ้นไว้ให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมืองพระราชดำรัสของรัชกาลที่ ๓
"เงินถุงแดง" นี้จึงช่วย กู้วิกฤตให้ทางสยามในเรื่องภัยคุกคามของฝรั่งเศสให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี แต่เงินถุงแดงมีทั้งหมด ๓๐,๐๐๐ ชั่ง เทียบกับเงินฟรังก์แล้วได้ประมาณ ๒,๔๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ ยังขาดอยู่อีก ๖๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ กลายเป็นปัญหาอีกว่าจะเอาจากที่ไหน รัชกาลที่ ๕ จึงสละทรัพย์ส่วนพระองค์และรวบรวมเงินจากพระบรมวงศานุวงศ์จนได้ครบตามจำนวน
"...การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว ทุกวันนี้คิดสละห่วงใยได้หมด อาลัยแต่วัดวา สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็มี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทำนุบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายในราชการแผ่นดินมีอยู่ ๔๐,๐๐๐ ชั่งนี้ ขอสัก ๑๐,๐๐๐ ชั่งเถิดให้ไว้บำรุงวัดวาที่ยังค้างอยู่..."
จากพระราชดำรัสดังกล่าวแสดงถึงพระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของรัชกาลที่ ๓ ทรงเห็นภัยคุกคามเอกราชสยามจากชาติตะวันตกในยุคนั้น ทรงห่วงใยบ้านเมืองและวัดวาอารามที่ทรงสร้างขึ้นไว้ให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมืองพระราชดำรัสของรัชกาลที่ ๓
"เงินถุงแดง" นี้จึงช่วย กู้วิกฤตให้ทางสยามในเรื่องภัยคุกคามของฝรั่งเศสให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี แต่เงินถุงแดงมีทั้งหมด ๓๐,๐๐๐ ชั่ง เทียบกับเงินฟรังก์แล้วได้ประมาณ ๒,๔๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ ยังขาดอยู่อีก ๖๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ กลายเป็นปัญหาอีกว่าจะเอาจากที่ไหน รัชกาลที่ ๕ จึงสละทรัพย์ส่วนพระองค์และรวบรวมเงินจากพระบรมวงศานุวงศ์จนได้ครบตามจำนวน
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล นิพนธ์ไว้ในเรื่อง "เหตุการณ์ใน ร.ศ. ๑๑๒ และเรื่องเสียเขตแดนใน ร.๕" มีว่า
"...ฝรั่งเศสไม่ต้องการให้ไทยจ่ายค่าเสียหายเป็นธนบัตร หากต้องการเป็นเงินกริ๋ง ๆ คราวนี้ก็ต้องเทถุงกันหมด เงินถุงแดงข้างพระที่ๆ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงเก็บไว้ ด้วยมีพระราชดำรัสว่า "เอาไว้ถ่ายบ้านถ่ายเมือง" ก็ได้ใช้จริงคราวนี้ ผู้ใหญ่เล่ากันว่าเจ้านายในพระราชวังเทเงินถวายกันจนเกลี้ยง ใส่ถุงขนออกจากในวังทางประตูต้นสน ไปลงเรือทางท่าราชวรดิษฐ์กันทั้งกลางคืนกลางวัน..."
ภาพการขนเงินออกจากพระบรมมหาราชวัง กลายเป็นความจริงอันเจ็บปวดของชนสยาม วันนั้นสยามต้องเสียน้ำตา เมื่อมองรถม้าขบวนยาวเหยียด บรรทุกเงินถุงแดงนับร้อยออกจากพระบรมมหาราชวัง ล้อรถบดไปบนถนน น้ำหนักเงินจำนวนมหาศาลนั้น กดทับถนน
เรื่องที่น่าเพิ่มเติมตรงนี้ คือ เงินในถุงแดงไม่ใช่เงินสกุลฟรังก์ของฝรั่งเศส แต่เป็นเหรียญนกของประเทศเม็กซิโก ที่รู้ว่าเป็นเหรียญเม็กซิโกเพราะเอกสารฝรั่งเศสซึ่งจะกล่าวต่อไประบุไว้แน่ชัดอย่างนั้น
ตามข้อสันนิษฐานมีมูลความจริงเป็นไปได้ว่า ในสมัย ร.๓ มีเงินนอกจากต่างประเทศ เช่น เม็กซิโก, เปรู, รูปีอินเดีย เป็นต้น เป็นที่ยอมรับในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากันอยู่ในเมืองไทยแล้ว เงินเม็กซิกันเป็นเงินเหรียญทอง ที่มีรูปนกอินทรีอยู่ด้านหนึ่ง (รูปนกอินทรีกางปีก ปากคาบอสรพิษ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศเม็กซิโก-ผู้เขียน) ไทยจึงเรียกเหรียญนก
เครดิตแหล่งข้อมูล : FB โบราณนานมา
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น