ทวี บุณยเกตุ นายกฯ 18 วัน กับผลงานเปลี่ยนชื่อประเทศกลับ


ทวี บุณยเกตุ นายกฯ 18 วัน กับผลงานเปลี่ยนชื่อประเทศกลับ


คนเราถึงคราวจําเป็นจะต้องเป็นนายกรัฐมนตรีก็ต้องได้เป็น ไม่ต้องไปวิ่งเต้นที่ไหน อย่างเช่น นายทวี บุณยเกตุ แต่ท่านก็เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในระยะเวลาอันสั้น ถ้าไม่นับรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ปี พ.ศ. 2518 ที่แพ้มติไว้วางใจจากรัฐสภาในปีนั้นแล้ว รัฐบาลของนายทวี บุณยเกตุ ก็เป็นรัฐบาลที่มีอายุสั้นที่สุด (ในช่วงเวลานั้น)

และก็ดูจะรู้กันทั่วไปตั้งแต่วันแรกว่ารัฐบาลชุดนี้จะเป็นเสมือนรัฐบาลขัดจังหวะเพื่อรอ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ทูตไทยประจําสหรัฐอเมริกาผู้เป็นเสรีไทยที่สําคัญคนหนึ่งให้เดินทางมารับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป

ศาสตราจารย์ บุญชนะ อัตถากร ได้เขียนถึงระยะตอนที่นายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรีเพียง 18 วัน (31 สิงหาคม พ.ศ. 2488-17 กันยายน พ.ศ. 2488) เอาไว้ว่า

"ระยะนั้นเป็นระยะเตรียมการที่รัฐบาลจะออกแถลงการณ์ให้การประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา และอังกฤษสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นโมมะ ตลอดจนเตรียมการออกกฎหมายอาชญากรสงครามเพื่อนําเอาบุคคลที่ทําสงครามกับฝ่ายพันธมิตรมาขึ้นศาลอาชญากรสงคราม เป็นการเตรียมการที่จะเจรจาด้วยความแนบเนียนกับรัฐบาลสหรัฐและอังกฤษ ให้ผ่อนปรนเป็นผลดีแก่ประเทศชาติและประชาชนไทยให้มากที่สุด การเตรียมการต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดําเนินการอยู่เบื้องหลังรัฐบาลทวีและรัฐบาลเสนีย์ ซึ่งจะตั้งขึ้นสืบต่อกัน"

แต่ถึงแม้ว่ารัฐบาลนี้จะเป็นที่รู้กันดีเป็นการล่วงหน้าว่า เป็นรัฐบาลชั่วคราวที่มีอายุในตําแหน่งสั้น ๆ ไม่กี่วันก็ตามที รัฐบาลก็ได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรตามประเพณีปฏิบัติ นายทวี บุณยเกตุ ได้บอกกับสภาเป็นรายงานอย่างไม่ยืดยาวนักว่า

"การจัดตั้งรัฐบาลนี้ได้กระทําในระหว่างหัวเลี้ยวแห่งสงครามกับสันติภาพจึงมีภารกิจมากหลายซึ่งจะต้องรีบปฏิบัติโดยด่วนเพื่อให้ทันกับเหตุ การณ์และให้สอดคล้องเหมาะสมในอันที่จะดําเนินการเจรจากับฝ่ายสหประชาชาติต่อไปในระยะเวลาที่รัฐบาลนี้จะพึงปฏิบัติ ขอแถลงนโยบายเพียงสั้น ๆ ดังต่อไปนี้

1. รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจะยึดหลักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยโดยเคร่งครัด

2. รัฐบาลนี้จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระบรมราชโองการประกาศสันติภาพที่ได้ประกาศไว้ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2488

3. ในส่วนนโยบายการต่างประเทศนั้น รัฐบาลนี้จะร่วมมือกับสหประชาชาติในทุกวิถีทาง และจะพยายามส่งเสริมสัมพันธไมตรีให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น และพร้อมที่จะร่วมมือกับสหประชาชาติในอันที่จะสถาปนาเสถียรภาพของโลกโดยยึดมั่นในอุดมคติ ซึ่งสหประชาชาติได้วางข้อตกลงไว้ ณ นครซาน ฟรานซิสโก

4. สําหรับนโยบายภายในนั้น เนื่องจากสถานะสงคราม จึงเป็นเหตุให้มีโจรผู้ร้ายและผู้หย่อนในศีลธรรมมากกว่าในเวลาปกติ รัฐบาลนี้จะได้พยายามปราบปรามและแก้ไขเพื่อรักษาความสงบภายในให้เรียบร้อย

หวังว่าสภาผู้แทนราษฎรคงจะให้ความไว้วางใจแก่รัฐบาลชุดนี้ด้วยดี เพื่อจะได้เข้าบริหารงานตามความในมาตรา 50 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยสืบไป"

ปรากฏว่าสภาฯ ได้ลงมติไว้วางใจด้วยคะแนน 89 เสียง จากจํานวนผู้มาประชุม 106 คน

แม้จะอยู่ในตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียงไม่กี่วัน นายทวี บุณยเกตุ ก็ได้ทํางานบางอย่างที่น่าจะบันทึกเอาไว้ให้ปรากฏ เรื่องที่สําคัญก็เกี่ยวกับชื่อประเทศและคนไทยที่เป็นภาษาอังกฤษ คนไทยเราดูจะพิถีพิถันกับเรื่องถ้อยคํามากทีเดียว ปรากฏว่าในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายก รัฐมนตรีนั้น ได้มีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ให้เรียกชื่อประเทศไทยว่า "Thailand" และเรียกชื่อประชาชนและสัญชาติว่า "Thai" พอมาสมัยนายทวี บุณยเกตุ ก็ได้มีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เปลี่ยนเสียใหม่ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 ดังนี้


"บัดนี้ รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า โดยที่ชื่อของประเทศเราเป็นที่นิยมเรียกกันทางต่างประเทศว่า ‘SIAM' จนแพร่หลาย เป็นที่รู้จักกันอย่างดีทั่วไปมา ช้านานแล้ว ฉะนั้นจึงให้ชื่อประเทศในภาษาอังกฤษว่า ‘SIAM' กับชื่อประชาชนและสัญชาติให้ใช้ว่า ‘SIAMESE' สําหรับในภาษาต่างประเทศอื่นให้ใช้ โดยอนุโลม ส่วนชื่อในภาษาไทยให้คงใช้ว่า ‘ไทย' ไปตามเดิม

"อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เรื่องตําแหน่งทางการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ยังค้างอยู่ เพราะจอมพล ป.พิบูลสงคราม ยังเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินอยู่ ทางรัฐบาลก็ได้ทําเรื่องเสนอให้มีการยกเลิก และได้มีประกาศพระบรมราชโองการฯ ยกเลิกตําแหน่งที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ที่จอมพล ป. พิบูลสงครามคํารงตําแหน่งอยู่ การเมืองก็เป็นเช่นนี้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นอดีตนายกฯ ก็ค่อย ๆ หมดตําแหน่งไปทีละตําแหน่ง

พอถึงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 นายกฯ ทวี บุณยเกตุ และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะก็ได้ถวายบังคมลาออกจากตําแหน่ง โดยเหตุผลว่า รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่าภารกิจเร่งด่วนที่รัฐบาลคณะนี้พึ่งปฏิบัติได้สําเร็จลุล่วงไปแล้ว

เขาเล่ากันว่าในวันนั้น ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ คือ นายปรีดี พนมยงค์ ได้เชิญพระยามานวราชเสวี ประธานสภาผู้แทนราษฎรไปที่ทําเนียบท่าช้างวังหน้า เพื่อหารือเรื่องตัวผู้ที่จะดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังที่นายประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ ได้บันทึกเอาไว้"

ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ได้แจ้งให้ประธานนายกรัฐมนตรีต่อไป ควรเป็นหม่อมราชวงศ์ เสนีย์ สภาทราบว่า...

ขณะนี้หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจําสหรัฐอเมริกาได้เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว และแจ้งต่อไปว่า ในสถานการณ์ขณะนี้เห็นว่าถ้าได้หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วจะเหมาะสม

ประธานสภาก็ได้ชี้แจงให้ทราบว่า เมื่อครั้งที่ได้นัดประชุมสมาชิกหารือเป็นการภายในเพื่อพิจารณาตัวบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายควง อภัยวงศ์ นั้นก็ได้ตกลงในที่ประชุมว่า ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป ควรเป็นหม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช แต่เพราะเหตุที่หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ยังไม่กลับมาถึงประเทศไทย จึงได้เห็นควรให้นายทวี บุณยเกตุ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เมื่อเป็นดังนี้ก็จะได้ดำเนินการต่อไป"

ดังนั้น นายทวี บุณยเกตุ นายกรัฐมนตรีขัดตาทัพจึงพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและมาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทยในรัฐบาลชุดใหม่ที่มี ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

เครดิตแหล่งข้อมูล : silpa-mag


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์