ขณะนี้มีเหตุการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ และเกิดภาวะขาดแคลนเครื่องอุปโภค บริโภค แต่อีกส่วนหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกันก็คือยารักษาโรค ซึ่งหลาย ๆ ท่านที่ต้องอยู่ในภาวะน้ำท่วมเป็นเวลานาน อาจต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมทั้งผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่จำเป็นต้องใช้ยา ซึ่งในครั้งนี้รายการ “ล้ำยุคเรื่องสุขภาพ” จะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของยาที่มีความจำเป็นต้องใช้ในช่วงน้ำท่วมกับ ภญ.ณีรนุช ทรัพย์ทวี กรรมการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายและสื่อสารสังคม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
โรคภัยไข้เจ็บที่มาจากน้ำท่วม
น้ำกัดเท้า ส่วนใหญ่เมื่อน้ำท่วมคนจะต้องลุยน้ำ ซึ่งหากต้องแช่น้ำอยู่นาน ๆ อาจจะเป็นโรคน้ำกัดเท้าได้ ซึ่งหากมีอาการมาก ๆ ก็อาจจะกลายเป็นแผลพุพองเป็นหนองได้ด้วย ดังนั้นหลังจากที่แช่น้ำนาน ๆ ควรเช็ดตัวให้แห้งสะอาด และเช็ดร่างกายบริเวณที่แช่น้ำด้วยน้ำเกลือหรือแอลกอฮอลล์ พร้อมทั้งสำรวจตนเองด้วยว่ามีบาดแผลเกิดขึ้นหรือไม่ ไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากไข้หวัดใหญ่มีการระบาดในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาวอยู่แล้ว และเป็นโรคที่ติดต่อกันง่าย โดยผ่านการไอ จามรดกัน ดังนั้นในช่วงน้ำท่วมจึงอาจพบผู้ป่วยโรคนี้ได้มาก และสำหรับผู้ประสบอุทกภัยหากมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ไอ จาม ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นไข้หวัดใหญ่ และควรระวังตนเองมิให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น โดยใช้ผ้าปิดปากเวลาไอจาม และหากมีไข้สูงติดต่อกันนาน ๆ ก็ควรรีบออกมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
- ยาลดไข้ บรรเทาปวด ในกลุ่มพาราเซตามอล
สำหรับ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ และผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ควรเตรียมตัวโดยการนับยาว่าจะมีใช้เพียงพอจนถึงช่วงที่น้ำลดไหม หากยาไม่พอก็ควรติดต่อไปที่ศูนย์ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ เพื่อขอรับยา โดยหากมีเหตุฉุกเฉินสามารถติดต่อไปได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ หมายเลขโทรศัพท์ 1111 , สายด่วนปภ. รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชม. 1784 , ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 หรือติดต่อมาได้ที่ จส.100 เพื่อดำเนินการประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ที่มา :prema.or.th
- ยาขี้ผึ้งสำหรับรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา (Whitfield’s ointment)
- ผงเกลือแร่ หรือ โอ.อาร์.เอส. (ORS)
- ผงถ่านที่ใช้ทางยา (Activated charcoal or medicinal charcoal)
- ยาลดไข้พาราเซตามอล ชนิดเม็ด
- ยาลดไข้พาราเซตามอล ชนิดน้ำเชื่อม
- ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก ชนิดเม็ด สำหรับผู้ใหญ่
- ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก ชนิดน้ำเชื่อม สำหรับเด็ก
- ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร (Aluminium Hydroxide + Magnesium Hydroxide)
- ยาฆ่าเชื้อสำหรับใส่แผลสด (Povidone iodine)
- น้ำเกลือสำหรับล้างแผล
- แอลกอฮอล์
- สำลี
- พลาสเตอร์ปิดแผล
ที่มา :yaandyou.net