โครงการเพื่อสังคม“Read for the Blind” จึงถือกำเนิดขึ้นใน “วันไม้เท้าขาวโลก (White Cane Safety Day) หรือวันคนตาบอดโลก” ซึ่งตรงกับวันที่ 15 ตุลาคมของทุกปีเพื่อเชิญชวนคนไทยอ่านหนังสือให้คนตาบอด ผ่านแอพพลิเคชัน Read for the Blindบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเพิ่มความสะดวกให้กับจิตอาสาสร้างหนังสือเสียงด้วยตัวเองได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต และแอพพลิเคชัน Read for the Blindเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนตาบอดในเมืองไทย ซึ่งกำลังประสบกับภาวะหนังสือเสียงขาดแคลนในขณะนี้มั่นใจสร้างหนังสือเสียง 3,000 เล่ม บทความ 30,000 บทความ จากผู้ดาวน์โหลดแอพ 2 แสนคน ใน 1 ปี
นายวิชัย พรพระตั้ง รองประธานธุรกิจโทรคมนาคม บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัดกล่าวว่า “ซัมซุง ในฐานะผู้พัฒนาแอพพลิเคชัน “Read for the Blind”ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ต่อยอดและพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อสร้างหนังสือเสียงให้กับคนตาบอดซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุดและ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่สามารถสร้างหนังสือเสียงผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เรียกได้ว่าเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่แห่งการสร้างคลังความรู้ให้คนตาบอด ทำให้การสร้างหนังสือเสียงเป็นเรื่องง่ายและสะดวกกว่าที่เคยมีมานับว่าเป็นการนำประโยชน์จากเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนมาสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม และเป็นการเพิ่มช่องทางให้คนไทยร่วมทำความดี ทุกที่ ทุกเวลาซึ่งแนวคิดในการพัฒนาแอพพลิเคชัน Read for the Blind มาจากไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่ไม่ค่อยมีเวลาและใช้ชีวิตแบบไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่แต่อยากจะช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม
ซึ่งการสร้างหนังสือเสียงให้คนตาบอดผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนนับเป็นการทำความดีที่ง่าย และเปลี่ยนรูปแบบการช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริง จึงอยากขอเชิญชวนให้ประชาชนทั่วประเทศดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน Read for the Blindโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ผ่าน Google Play Store และ App Storeนอกจากนี้ประชาชนยังสามารถเลือกอ่านหนังสือที่ตัวเองชอบและสร้างเป็นหนังสือเสียงให้กับคนตาบอดได้ด้วย สำหรับแอพพลิเคชัน Read for the Blind ซัมซุงได้มอบลิขสิทธิ์นี้ให้แก่มูลนิธิคนตาบอดไทยเพื่อต่อยอดและใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต” เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับพัฒนาแอพพลิเคชันนี้ขึ้นคือ เทคโนโลยีบันทึกเสียง หรือ Voice Recorder เพื่อบันทึกเสียงอ่านหนังสือ จากนั้นไฟล์เสียงดังกล่าวจะถูกอัพโหลดไปที่ระบบของมูลนิธิคนตาบอดไทยเพื่อนำไฟล์เสียงดังกล่าวไปแปลงเป็นระบบเดซี 3 (Daisy3) เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่มีคุณภาพและเป็นมาตรฐานสำหรับคนตาบอด นอกจากนี้คนตาบอดยังสามารถค้นหา ควบคุมการอ่านได้ และใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อีกด้วยเช่น ทำสำเนาได้ง่ายขึ้น สามารถคั่นหน้าที่อ่านได้ สำหรับการนำมาเปิดฟังในภายหลัง เทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพเพื่อบันทึกภาพปกหนังสือที่ทำการอ่านได้อีก เพื่อให้ผู้ที่ต้องการอ่านหนังสือเล่มเดียวกันมาอ่านต่อได้ ดังนั้นจึงหมดกังวลเรื่องการสร้างหนังสือเสียงที่ซ้ำกัน และยังสามารถมาร่วมกันอ่านบทต่อๆ ไปได้ เพื่อให้หนังสือที่เลือกอ่านเสร็จสมบูรณ์เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถแชร์การสร้างหนังสือเสียงให้เพื่อนในสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊คได้อีกด้วย
นายวิรัชศรีตุลานนท์ ประธานมูลนิธิคนตาบอดไทย กล่าวว่า ·เชื่อว่าแอพพลิเคชันRead for the Blind จะช่วยเพิ่มจำนวนหนังสือเสียงให้เพียงพอกับความต้องการของคนตาบอด และกล่าวขอบคุณ 4องค์กรพันธมิตรที่ร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคมนี้ขึ้น พร้อมกับเชิญชวนให้ประชาชนเลือกว่าจะช่วยกระจายข่าวเกี่ยวกับโครงการ หรือเข้าร่วมโครงการเพื่ออ่านหนังสือเสียงผ่านแอพพลิเคชันด้วยตนเอง
ผู้สนใจสร้างหนังสือเสียงให้คนตาบอดผ่านแอพพลิเคชัน Read for the Blindบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ที่Google Play Store และ App Store ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และสามารถแชร์หนังสือที่อ่านให้คนตาบอดฟังทางFacebookอีกด้วย