| |
|
รู้ได้ไงว่าเราเป็น เบาหวาน!!!
อาการ...ของผู้ที่เป็นเบาหวาน
1. ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน
2. คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย และมาก
3. หิวบ่อย กินจุ แต่น้ำหนักลด ผอมลง อ่อนเพลีย
4. เป็นแผลหรือฝีง่ายแต่หายยาก
5. คันตามผิวหนังและบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
6. ชาปลายมือปลายเท้าความรู้สึกทางเพศลดลง
7. ตามัว พร่า ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ๆ
สาเหตุของเบาหวาน
ในชุมชนไทยมีโอกาสพบคนเป็นเบาหวานตั้งแต่ช่วงอายุ 13 ปีขึ้นไป โดยประมาณทั้งสิ้นถึงหนึ่งล้านเจ็ดแสนคน นอกจากนั้นยังพบว่าเมื่ออายุสูงขึ้นมีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่ายขึ้น ได้แก่ ประชากรระหว่าง 20-44 ปี จะพบประมาณร้อยละ 2-3 และอายะ 45-59 ปี ขึ้นไป อาจพบสูงถึงร้อยละ 10-12 สาเหตุของการเกิดโรคมีดังนี้
1. น้ำหนักเกิน ความอ้วน และขาดการเคลื่อนไหวออกกำลังกายที่เพียงพอ
2. กรรมพันธุ์ มักพบโรคนี้ในผู้ที่มีบิดา มารดา เป็นเบาหวาน ลูกมีโอกาสเป็นเบาหวาน 6-10 เท่าของคนที่พ่อแม่เป็นเบาหวาน
3. ความเครียดเรื้อรังทำให้อินซูลินทำงานนำน้ำตาลเข้าเนื้อเยื่อได้ไม่เต็มที่
4. อื่น ๆ เช่น จากเชื้อโรคหรือยาบางชนิด เกิดร่วมกับโรคเนื้องอกของต่อมใต้สมองหรือต่อมหมวกไต เป็นต้น
ผู้ใด...ควรจะสงสัยว่าตนเองเป็นหวาน
ผู้มีอาการของโรคเบาหวาน ผู้มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 40 ปี และผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยในข้อใดหนึ่งต่อไปนี้
1. มี บิดา มารดา พี่ หรือน้อง คนใดคนหนึ่งเป็นโรคเบาหวาน
2. อ้วน โดยมีดรรชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 25
3. มีภาวะความดันโลหิตสูง
4. มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (ไตรกลีเซอไรด์) มากกว่า 250 มก./ดล. เอช ดี แอล คลอเลสเตอรอล (HDL cholesterol) น้อยกว่า 35 มก./ดล.
5. มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือมีประวัติการคลอดบุตรที่น้ำหนักตัวแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
6. มีประวัติหรือเคยมีประวัติน้ำตาลในเลือดสูงจากการตรวจเลือดโดยการงดอาหาร (Fasting Plasma Glucose) = 110-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือตรวจวัดน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังกินกลูโคส 75 กรัม ตรวจพบน้ำตาล = 140-199) มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
รู้ได้อย่างไร..ว่าเป็นเบาหวาน
ถ้าสงสัยว่ามีความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง ให้ไปตรวจน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วที่สถานบริการรักษาพยาบาลพื้นฐาน ก่อนไปตรวจจะต้องงดอาหารทุกชนิด ยกเว้นน้ำเปล่าก่อนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ถ้าผลเลือดตรวจพบน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ต้องสงสัยว่าเป็นเบาหวาน และสามารถรับประทานอาหารได้หลังการเจาะเลือด
แต่ถ้าสถานบริการใดไม่มีเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด ต้องตรวจน้ำตาลในปัสสาวะแทนให้ผู้รับบริการเตรียมตัวเก็บปัสสาวะ
ในการเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจทดสอบให้มีมาตรฐานที่ดีในการตรวจนั้น ควรปัสสาวะทิ้งหลังจากตื่นนอนตอนเช้าเสียก่อนแล้วจากนั้นดื่มน้ำตาม 1 แก้ว รับประทานอาหารเช้าแล้ว หลังอาหาร 2 ชั่วโมงจึงเก็บปัสสาวะส่งตรวจ และถ้ายังมีอาการน่าสงสัย แต่ตรวจไม่พบความผิดปกติจากการตรวจน้ำตาลในปัสสาวะให้ไปตรวจอีกครั้งจากสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เช่น โรงพยาบาลชุมชน เป็นต้น
เมื่อตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจคัดกรองข้างต้นแล้วสถานบริการพื้นฐานจะส่งตัวท่านไปวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานหรือไม่โดยแพทย์ ซึ่งจะตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจากข้อพับแขนของท่านอีกโดยการเตรียมตัวเพื่อรับการตรวจเช่นเดียวกับการตรวจเลือดปลายนิ้วและจะวินิจฉัยว่าท่านเป็นเบาหวานเมื่อผลเลือดของท่านมากกว่า 126 มก./ดล.ขึ้นไปอย่างน้อย 2 ครั้ง
แหล่งข้อมูล: คู่มือดูแลตนเองเบื้องต้น เรื่องเบาหวาน "รู้ทันเบาหวาน"
สำหรับผู้เป็นเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!