หมอสูติไขปม กินยาคุมฉีดวัคซีนโควิดได้หรือไม่ กระตุ้นการเกิดลิ่มเลือดจริงหรือเปล่า?


หมอสูติไขปม  กินยาคุมฉีดวัคซีนโควิดได้หรือไม่ กระตุ้นการเกิดลิ่มเลือดจริงหรือเปล่า?

เมื่อวันที่ 30 พ.ค.64 เฟซบุ๊ก Drama-addict ได้มีการสรุปประเด็นที่มีการพูดคุยผ่านไลฟ์ของ อ.อรวิน วัลลิภาก อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จากโรงพยาบาลรามาธิบดี และ อ.โอฬาริก มุสิกวงศ์ สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เกี่ยวกับประเด็นที่สังคมกำลังให้ความสนใจ โดยเฉพาะสุภาพสตรีที่มีการใช้ยาคุมกำเนิด ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนแต่กังวลเรื่องผลข้างเคียง หลังมีกระแสข่าวว่าการใช้ยาคุมจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน



โดยสรุปออกมาเป็นหัวข้อดังนี้

ยาคุมกำเนิดชนิดรวมแบบมีเอสโตรเจน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน 6-15 ราย ต่อหมื่นราย (สถิติจากอังกฤษ) ส่วนของไทย ความเสี่ยงน้อยกว่าของอังกฤษประมาณห้าเท่า (ก็ประมาณ หนึ่งรายต่อหมื่นราย)

ยาฉีดคุมกำเนิด (DMPA) ยาฝังคุมกำเนิด พวกนี้เป็นยาคุมแบบไม่มีเอสโตรเจน ความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจะน้อยกว่าแบบมีเอสโตรเจน ดังนั้นถ้าใช้ยาคุมกลุ่มที่ไม่มีเอสโตรเจน ความเสีย่งจะน้อยกว่า

กลุ่มวัยทอง ที่ใช้ฮอร์โมนทดแทนรักษา ความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอยู่ที่ 16-30 คน ต่อหมื่นราย (ในคนไทยหารห้าตามเดิม)

ประเด็นวัคซีนโควิดกับลิ่มเลือดอุดตัน ของไทยตัวเลือกตอนนี้มี ซิโนแวค และ AZ (ซิโนฟาร์มจะมาในอนาคต) จากข้อมูล ของ AZ มีข้อมูลว่าอาจมีความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันในบางราย แบบที่เห็นข่าวกัน แต่ของ ซิโนแวค "ไม่มีข้อมูล" (คือมันไม่มีประเด็นรายงานเคสลิ่มเลือดอุดตันจากซิโนแวคจากทางจีน ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้)

หมอสูติไขปม  กินยาคุมฉีดวัคซีนโควิดได้หรือไม่ กระตุ้นการเกิดลิ่มเลือดจริงหรือเปล่า?


อ.โอฬาริก แสดงความเห็นส่วนตัวว่า ในกลุ่มวัคซีนเชื้อตายตัวอื่นนอกจากโควิด ในหญิงท้องที่มีความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตันสูงกว่าปรกติ ก็มีการฉีดวัคซีนเชื้อตายให้กลุ่มหญิงท้องได้โดยปลอดภัย ดังนั้นจริงๆแล้ว ถ้าเป็นวัคซีนเชื้อตาย ก็ควรฉีดในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้โดยปลอดภัย (ย้ำว่าเป็นความเห็นส่วนตัว)

คำถามที่ว่า การใช้ยาคุม และวัคซีนโควิด ร่วมกัน จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันสูงขึ้นหรือไม่ อ ทั้งสองท่านตอบว่า ยังไม่มีข้อมูล ต้องรอข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติม ดังนั้นเมื่อไม่มีข้อมูลชัดเจน ต้องชั่งน้ำหนักผลได้ผลเสียจากการฉีดวัคซีนกับการติดโควิด

หากติดเชื้อโควิด มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตัน 2% หรือ สองในร้อยคน
โอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีน AZ คือสี่ในล้านคน

โอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากยาคุม 6-15 ต่อหมื่น (ในคนไทยให้หาร 5) ใช้ตัวเลขตามนี้ประกอบการพิจารณาผลได้ผลเสียในการฉีดวัคซีน

 


หมอสูติไขปม  กินยาคุมฉีดวัคซีนโควิดได้หรือไม่ กระตุ้นการเกิดลิ่มเลือดจริงหรือเปล่า?


คนที่ใช้ยาคุม ฮอร์โมน ควรหยุดใช้ก่อนไปฉีดวัคซีนหรือไม่ ถ้าควร ควรหยุดก่อนกี่วัน อ.อรวิน ตอบว่า ถ้าคุณใช้ยาคุม เพื่อคุมกำเนิด และกลัวความเสีย่งในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ก็หยุดยาคุมได้ แล้วไปใช้วิธีอื่นในการคุมกำเนิด เช่น ถุงยาง แต่ถ้าใช้ยาคุมหรือฮอรโมนในการรักษาโรคอื่นๆ ไม่ใช่เพื่อการคุมกำเนิด ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า ต้องหยุดหรือไม่ แต่อิงคำแนะนำของอังกฤษ บอกว่า ให้กินยาคุม/ฮอร์โมนต่อไปได้ แต่ทางฝั่งไต้หวัน บอกว่าให้หยุดยาคุมก่อน 28 วัน ก่อนไปฉีดวัคซีน

อ.ทั้งสองท่านบอกว่า เอาตามแนวทางไหนก็ได้ ถ้ากังวลเรื่องลิ่มเลือด และใช้ยาคุมในแง่คุมกำเนิด จะงดก่อนซักเดือนนึง ก็ไม่เสียหายอะไร ส่วนโรคต่างๆที่ใช้ฮอรโมนรักษา อันนี้ขึ้นอยู่กับโรค เช่น สมมุติคุณเป็นซีสท์ในมดลูก ที่ขนาดไม่ได้ใหญ่ไรมาก หมอให้กินฮอรโมน ยาคุมเพื่อรักษา ถ้าหยุดยาไปซักเดือน ก็ไม่น่ามีผลกระทบไรมาก หรือกลุ่มวัยทอง ที่กินฮอรโมนทดแทน แบบนี้ก็งดเดือนนึงผลกระทบน้อย แบบนี้งดได้ นอกเหนือจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์ที่รักษาอยู่

ส่วนกลุ่มที่ใช้ยาคุมกลุ่มที่ความเสี่ยงน้อยอยู่แล้ว เพราะไม่มีเอสโตรเจน เช่น ยาคุมแบบฝัง ยาคุมแบบฉีด ห่วงคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน พวกนี้ไม่ต้องหยุด ใช้ต่อไปได้เลย เพราะความเสี่ยงลิ่มเลือดต่ำอยู่แล้ว ยาคุมกลุ่มนี้ไม่เพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน ประเด็นนี้จะมีคำแนะนำแบบเป็นทางการจากราชวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในสัปดาห์หน้า

อ.อรวิน แนะนำเพิ่มเติมว่า ถ้าเลือดหนืด ก็มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้สูง ดังนั้นแนะนำในช่วงที่จะไปฉีดวัคซีน ให้กินน้ำให้เพียงพอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ พยายามขยับตัวบ่อยๆเดินไปเดินมา ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดได้เช่นกัน

กลุ่ม LGBT ที่ใช้ฮอรโมน กลุ่มนี้ยังไม่มีข้อมูล รอไลฟ์ต่อไป อ.กำลังไปรีวิวข้อมูลในประเด็นนี้


หมอสูติไขปม  กินยาคุมฉีดวัคซีนโควิดได้หรือไม่ กระตุ้นการเกิดลิ่มเลือดจริงหรือเปล่า?

เครดิตแหล่งข้อมูล : FB Drama-addict


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์