ส่อง 5 โรคยอดฮิตที่ต้องระวังในช่วงฤดูร้อน 2567


ส่อง 5 โรคยอดฮิตที่ต้องระวังในช่วงฤดูร้อน 2567

1. โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่

1.1 โรคอาหารเป็นพิษ
1.2 โรคอหิวาตกโรค
1.3 โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
1.4 โรคไวรัสตับอักเสบ เอ
1.5 ไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย


2. ภัยสุขภาพ ได้แก่

2.1 การเจ็บป่วย และเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน
2.2 การบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการจมน้ำ


5 โรคฤดูร้อน ที่ต้องระวัง!

โรคอาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตในช่วงฤดูร้อน เป็นภาวะที่เกิดจากรับประทานอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียเข้าไป ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องและท้องเสียถ่ายเหลวตามมา


โรคอหิวาตกโรค

โรคอหิวาตกโรค หรือในอดีตเรียกว่า โรคห่า เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ในทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน โดยเชื้อจะไปอยู่ที่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษออกมา เชื้ออหิวาตกโรคมักจะอยู่ในอุจจาระของผู้ป่วย ซึ่งในระยะนี้จะนำมาสู่การแพร่กระจายเชื้อ โดยมักมาจากการที่แมลงวันมาตอมอุจจาระ แล้วนำเชื้อไปติดอาหารหรือน้ำดื่มต่าง ๆ โอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตสูงถึง 50% หากอยู่ในระดับรุนแรง


โรคอุจจาระร่วงหรือท้องเสียเฉียบพลัน 

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต เนื่องจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด เป็นโรคที่พบได้บ่อย พบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อน ซึ่งต่างจากการท้องเสียทั่วไป คือการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมงหรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง ควรพบแพทย์ทันที


โรคไวรัสตับอักเสบเอ

 เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม picornavirus ซึ่งติดต่อกันได้ง่าย ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของตับ โดยระดับความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ มีอาการเพียงเล็กน้อย ไปจนถึง ตับอักเสบเฉียบพลันรุนแรง โดยทั่วไปโรคสามารถหายเองได้จนเป็นปกติ ภายใน 2 เดือน มักติดต่อผ่านทางการกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อนี้เข้าไป นอกจากนี้เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ยังสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิด กับผู้ติดเชื้อได้อีกด้วย


ไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย 

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน ในประเทศไทยพบการติดเชื้อไทฟอยด์น้อยลงมากแล้ว เนื่องจากมีการพัฒนาด้านสุขอนามัยอย่างต่อเนื่อง จึงไม่แนะนำให้คนไทยรับวัคซีน แต่แนะนำสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศซึ่งมีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น อินเดีย เนปาล และในประเทศแถบแอฟริกา เนื่องจากระบบสาธารณะสุขไม่สะอาดดีเท่าที่ควร


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์