ไขสงสัย น้ำปานะ คืออะไร แบบไหนที่ถูกหลักพระวินัย


ไขสงสัย น้ำปานะ คืออะไร แบบไหนที่ถูกหลักพระวินัย

น้ำปานะ หนึ่งในคำที่พุทธศาสนิกชนได้ยินบ่อยครั้ง แต่อาจจะไม่รู้ความหมายที่แท้จริงหรือไม่แน่ใจว่าน้ำแบบไหนถึงเรียกว่าน้ำปานะ วันนี้มีสรุปมาให้แล้ว

ก่อนอื่นทบทวนกันสักนิด ในหลักพระวินัยเรื่องการฉันภัตตาหารสำหรับพระสงฆ์ คือ ห้ามฉันอาหาร(ห้ามเคี้ยวอาหาร) หลังเที่ยงวันจนกว่าจะเช้าวันใหม่ แต่เนื่องจากพระสงฆ์ต้องปฏิบัติกิจของสงฆ์อยู่ เลยอนุญาตให้ฉันน้ำปานะได้


น้ำปานะคืออะไร?

น้ำปานะ ตามหลักพระวินัย คือ เครื่องดื่มหรือน้ำที่คั้นจากผลไม้ที่สุกเองโดยธรรมชาติ กล่าวคือห้ามสุกด้วยไฟและสามารถเก็บไว้ 1 วันกับ 1 คืนเท่านั้น ผลไม้ที่นำมาคั้นก็ไม่ควรเป็นผลใหญ่มาก ไม่มีเนื้อเจือปน ผลไม้ที่พระพุทธเจ้าอนุญาตไว้มี 8 ชนิดหรือเรียกว่าน้ำอัฏฐบาน ได้แก่

-น้ำที่ทำจากผลมะม่วง
-น้ำที่ทำจากผลหว้า
-น้ำที่ทำจากผลกล้วยมีเมล็ด
-น้ำที่ทำจากผลกล้วยไม่มีเมล็ด
-น้ำที่ทำจากผลมะซาง
-น้ำที่ทำจากผลจันทน์ หรือผลองุ่น
-น้ำที่ทำจากผลเหง้าบัว
-น้ำที่ทำจากผลมะปราง หรือผลลิ้นจี่


หากนอกเหนือจากนี้ น้ำจากข้าว กาแฟ น้ำที่ผสมนม น้ำจากผลไม้ใหญ่ เช่น ผลตาล มะพร้าว แตงโม ฟักทอง รวมไปถึงน้ำจากถั่วชนิดต่างๆ ตามหลักแล้วไม่สามารถฉันได้

จุดประสงค์หลักของน้ำปานะ เพื่อบรรเทาความหิวกระหาย และการดับธาตุไฟที่เผาผลาญอาหารอยู่ภายในร่างกาย เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจของสงฆ์ต่อได้ เมื่อรู้หลักแล้วหากพุทธศาสนิกชนท่านใดจะถวายน้ำปานะ ก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น



เครดิตแหล่งข้อมูล : inn


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์