
จริงหรือไม่? ยาสีฟันฟลูออไรด์ ใช้แล้วเสี่ยง “มะเร็ง”

สารฟลูออไรด์ทางด้านทันตกรรมนั้น มีส่วนช่วยในการป้องกันฟันผุ สำหรับปริมาณฟลูออไรด์ที่เหมาะสมในการใช้นั้น ทางทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำแนวทางการใช้ฟลูออไรด์ในทางทันตกรรม ปี พ.ศ. 2566 ไว้ โดยแนะนำให้ใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ได้ตั้งแต่ความเข้มข้นที่ 1000 ppm ขึ้นไป และความเข้มข้นที่ 1500 ppm สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุงสูงมาก
การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ไม่ทำให้เกิดมะเร็ง และไม่มีข้อจำกัดหรือข้อห้ามในผู้ป่วยกลุ่มไหนเลย กล่าวคือยาสีฟันผสมฟลูออไรด์นั้น สามารถใช้ได้ในทุกช่วงอายุและทุกวัย โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นมะเร็งศีรษะและลำคอที่มีการฉายรังสีรักษา ซึ่งผลจากการฉายรังสีรักษาจะส่งผลให้เกิดฟันผุบริเวณรากฟันได้ง่าย เพราะฉะนั้นการใช้ยาสีฟันที่ส่วนผสมของฟลูออไรด์นั้นก็จะเป็นการช่วยป้องกันการเกิดฟันผุได้
แต่การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ก็มีข้อควรระวังคือการรับฟลูออไรด์เข้าร่างกายโดยไม่ตั้งใจ อย่างเช่น การกลืนยาสีฟัน เพราะการได้รับฟลูออไรด์ที่มากเกินไป ส่งผลต่อร่างกายได้ 2 แบบคือ แบบเฉียบพลัน เกิดจากการที่ร่างกายได้รับฟลูออไรด์เกิน 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม มักเกิดจากการได้รับโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่ร่างกายได้รับ มีตั้งแต่คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย จนถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนแบบเรื้อรัง คือการได้รับฟลูออไรด์ในแต่ละวันเกิน 0.1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยอาการที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ฟันตกกระ มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีขาวขุ่นบนผิวฟัน
Love illusion ความรักลวงตา เพลงที่เข้ากับสังคมonline
Love illusion Version 2คนฟังเยอะ จนต้องมี Version2กันทีเดียว
Smiling to your birthday เพลงเพราะๆ ไว้ส่งอวยพรวันเกิด หรือร้องแทน happybirthday