ไขข้อสงสัย! เมื่อ COVID-19 ถึงมือหมอ รักษาต่ออย่างไร


ไขข้อสงสัย! เมื่อ COVID-19 ถึงมือหมอ รักษาต่ออย่างไร

เปิดขั้นตอนรักษาผู้ป่วย COVID-19 มีส่วนน้อย-อาการหนัก ต้องใช้ยาต้านไวรัส-เครื่องช่วยหายใจ ส่วนผู้ป่วยทั่วไปอาการไม่รุนแรงแต่อาจมีผลข้างเคียงจากยาเล็กน้อย ชี้ ไทยเผชิญ COVID-19 กว่า 2 เดือน พบกลุ่มวัยทำงานติดเชื้อเยอะสุด

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พิเศษ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค เกี่ยวกับขั้นตอนการรักษาผู้ป่วย COVID-19 มีขั้นตอนดังนี้



ขั้นตอนการตรวจคัดกรองและการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 เริ่มจากขั้นตอนการคัดกรอง ซึ่งแพทย์จะตรวจประวัติในประชาชนกลุ่มเสี่ยง และตรวจสัญญาณของอาการผู้ติดเชื้อ COVID-19 เช่น กลุ่มคนที่มีประวัติกลับจากประเทศที่มีการระบาด และมีไข้ ไอ และมีน้ำมูก ฯลฯ

การตรวจเชื้อกลุ่มเสี่ยง จะใช้เวลารอผล 4-6 ชั่วโมง ระหว่างนี้ กลุ่มอาการไม่หนัก และไม่มีประวัติใกล้ชิดกับบุคคลอื่นจะให้รักษาตัวและรอผลอยู่ที่บ้าน ขณะที่ "กลุ่มอาการหนัก" จะให้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล

ไขข้อสงสัย! เมื่อ COVID-19 ถึงมือหมอ รักษาต่ออย่างไร


สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลแล้ว ก่อนการรักษาจะต้องมีการตรวจเชื้อซ้ำอีกครั้ง โดยตรวจสารคัดหลั่งที่ได้จาก "คอหอย"  จากนั้นแพทย์จะรักษาตามอาการ เช่น หากมีไข้และน้ำมูก จะให้ยาลดไข้และยาลดน้ำมูก เป็นต้น

ต่อมาแพทย์จะนำผู้ป่วยไปเอ็กซเรย์ปอด เพื่อตรวจหาอาการ "ปอดอักเสบ" หากพบปอดอักเสบ จึงจะให้ยาในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งมีหลายสูตรและต้องปรับตามความเหมาะสม เช่น ฟาวิพิราเวียร์ (สธ.เพิ่งนำเข้าเพิ่มเติมจากจีน) ควบคู่กับยากลุ่มยาต้าน HIV เป็นต้น

ทั้งนี้เมื่อรักษาตามขั้นตอนข้างต้น หากผู้ป่วยมีอาการป่วยไม่มากหรือปานกลาง จะใช้เวลารักษาประมาณ 2 สัปดาห์ ขณะที่ผู้ป่วยที่มีอาการหนักจะใช้เวลารักษาตัว 3-4 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น จนกว่าการตรวจเชื้อจะเป็นลบหรือไม่พบเชื้อ

ไขข้อสงสัย! เมื่อ COVID-19 ถึงมือหมอ รักษาต่ออย่างไร


สำหรับการตรวจเชื้อในขั้นตอนสุดท้ายนี้ จะต้องตรวจซ้ำ 2 ครั้ง ครั้งแรก และครั้งที่ 2 ต้องห่างกันอย่างน้อย 48 ชั่วโมง (2 วัน) หากผลเป็นลบ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้

ข้อมูลที่ นพ.โสภณ ให้เพิ่มเติมหลังรับมือโควิด-19 กว่า 2 เดือน คือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ 80% อาการไม่หนัก อีก 15% มีอาการปานกลางและอีก 5% อาการรุนแรง

"สิ่งนี้ทำให้เราเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาต้านไวรัสและเครื่องช่วยหายใจ แต่ยังมีเปอร์เซ็นต์น้อย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรกังวลในเรื่องของการรักษา กรณีที่จำเป็นที่จะต้องใช้ยาต้านไวรัสหรือเครื่องช่วยหายใจ เพราะเรายังมีเพียงพอ"

ไขข้อสงสัย! เมื่อ COVID-19 ถึงมือหมอ รักษาต่ออย่างไร

 

ส่วนความแตกต่างระหว่างวัยของผู้ป่วยมีนัยยะสำคัญ คือ "เด็ก" ป่วยไม่หนักและอาการไม่รุนแรง ไม่เหมือนกับ ผู้สูงอายุที่อาการรุนแรงกว่า ขณะที่คนวัยทำงาน 20-59 ปี มีอัตราติดเชื้อสูงสุด เพราะกลุ่มนี้เข้าสังคมมากกว่ากลุ่มอื่น แต่ไม่ใช่กลุ่มที่มีอัตราเสียชีวิตสูงสุด เพราะกลุ่มเสี่ยงเสียชีวิตยังเป็นผู้สูงอายุ


ไขข้อสงสัย! เมื่อ COVID-19 ถึงมือหมอ รักษาต่ออย่างไร

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี Thai PBS


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์