ทำไมจึงต้องใช้คำว่า ประสูตินอก และประสูติในเศวตรฉัตร ก็เพราะว่าพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ เมื่อได้ครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็จะเสด็จเข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นพ่ออยู่หัว พระองค์จะเสด็จขึ้นประทับยังพระที่นั่งราชบัลลังก์ ด้านบนกางกั้นด้วยนพปฎลมหาเศวตฉัตร หรือ "ฉัตรขาว 9 ชั้น" ซึ่งเป็นฉัตรสำหรับพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น ดังนั้นลูกเธอที่ประสูติก่อนพ่อจะครองราชย์จะเป็นลูกเธอประเภทนอกเศวตรฉัตร ส่วนลูกเธอที่ประสูติหลังพ่อครองราชย์จะลูกเธอประเภทในเศวตรฉัตร
ทีนี้มาถึงความแตกต่างของลูกเธอทั้งสองประเภท ก็เห็นจะมีอีกหนึ่งเรื่องนั่นก็คือ "ฐานันดรศักดิ์" คำนี้หมายถึง ศักดิ์ที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด ทำให้ลูกเธอทั้งสองประเภทนี้มีฐานันดรศักดิ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะว่าลูกเธอที่ประสูตินอกเศวตรฉัตรนั้นจะมีฐานันดรศักดิ์เพียง พระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้า หรือพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, หรือแม้แต่เป็นหม่อมราชวงศ์ก็สามารถเป็นไปได้ (สูงต่ำตามยศของแม่) ซึ่งจะต่างจากลูกเธอที่ประสูติในเศวตรฉัตร ที่เมื่อแรกประสูติก็มีฐานันดรศักดิ์เป็นถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า หรือพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้า (สูงต่ำตามยศของแม่)
ส่วนด้าน "สิทธิ์" ของลูกเธอทั้งสองประเภทนี้ไม่มีอะไรแตกต่างกันครับ เพราะเมื่อพระเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ พระองค์ก็จะไล่สถาปนาลูกเธอที่ประสูตินอกเศวตรฉัตร ขึ้นเป็นพระเจ้าลูกเธอทั้งหมดอย่างเท่าเทียมกันตามสถานะของแม่ที่อยู่ในระดับเดียวกัน นั่นก็คือ
1.หากประสูติจากพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง หรือพระอัครมเหสี ลูกเธอจะได้เป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชั้นเอก" ออกพระนามอย่างลำลองว่า ทูลกระหม่อมชาย ทูลกระหม่อมหญิง
2.หากประสูติจากพระภรรยาเจ้าชั้นหลานหลวง หรือพระมเหสี เช่น พระอรรคชายา ,พระราชชายา ,พระวรชายา ลูกเธอก็จะได้เป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชั้นโท" ออกพระนามอย่างลำลองว่า สมเด็จชาย สมเด็จหญิง
3.หากประสูติจากเจ้าจอม หรือสามัญชน ลูกเธอก็จะได้เป็น พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าชั้นเอก หรือที่ออกพระนามกันว่า เสด็จพระองค์ชาย เสด็จพระองค์หญิงนั่นเองจากภาพด้านซ้ายคือ ส่วนหนึ่งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าอยู่หัวในอดีต ซึ่งพระองค์จะประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร หรือฉัตรขาว 9 ชั้น