ทำไมเงินไทยถึงเรียกว่า บาท ? !!แล้วรู้ไหม ทองคำ ๑ บาท หนักกี่กรัม .


ทำไมเงินไทยถึงเรียกว่า บาท ? !!แล้วรู้ไหม ทองคำ ๑ บาท หนักกี่กรัม .

เงินบาท เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย หรือสยาม มานานแล้วแต่ก่อนนั้นมีค่าเงินต่างๆ มาก็มากนะ ..

คำว่า บาท มาจากไหน ทั้งนี้เงินบาท เดิมฝรั่งเรียกว่า ติกัล ส่วนคำว่าบาท มีที่มาจากภาษาขอมโบราณ (ข้อมูลจาก หนุ่มรัตนะพันทิป ณล)

แต่เดิมคำว่า "บาท" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำงัย .

เพิ่มเติมความรู้กัน ..

นี้คือหลักการแปลงน้ำหนักทองคำ นะ

ทองคำความบริสุทธิ์ 96.5% (เป็นมาตรฐานในประเทศไทย) อ้าวแล้วทำไมไม่ 100 % เลยหล่ะ !!

.. ตอบครับ เพราะทองคำ 100%จะไม่สามารถยึดตัวเป็นก้อนหรือเป็นแท่งได้ จึงต้องผสมด้วยเงิน(Silver) ทองแดง(Copper) หรือโลหะอื่นๆ เข้าไปเพื่อให้แข็งเป็นก้อนได้นั่นเอง.

..

ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.16 กรัม

ทองคำแท่ง น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม

(สำหรับท่านที่ไม่รู้นะ)

.. ต่อเรื่องเงินดีกว่า..

เมื่อในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิล เหมือนเช่นในปัจจุบัน.


เหรียญไทยนั้นผลิตออกมาโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยสามารถผลิตออกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาค้ำประกัน เพราะโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกปาษณ์นั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรนั้นผลิตและควบคุมการหมุนเวียนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตธนบัตรนำออกใช้จะมีหลักเกณฑ์วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีเสถียรภาพ


ระบบสกุลเงินไทยในปัจจุบัน ซึ่งเงิน หนึ่งบาท มีค่าเท่ากับ ๑๐๐ สตางค์ เริ่มใช้ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนหน้านั้นเงินตราไทยใช้ระบบดังนี้

1 หาบ 80 ชั่ง = 6,400 บาท

1 ชั่ง 20 ตำลึง = 80 บาท

1 ตำลึง 4 บาท

1 บาท 1 บาท = 100 สตางค์ (ใช้ค่าเงินนี้อยู่).

1 มายน หรือ 1 มะยง มีค่า = 50 สตางค์
ปัจจุบันยังมีการเรียกเหรียญมูลค่านี้ว่า เหรียญสลึง

เฟื้อง = 12.5 สตางค์

ซีก หรือ 1 สิ้ก = 6.25 สตางค์

เสี้ยว 1 เซี่ยว หรือ 1 ไพ = 3.125 สตางค์

อัฐ = 1.5625 สตางค์ .
(อันนี้เคยได้ยินกันบ่อยๆ จากภาพยนตร์ ละครย้อนยุค งัย).

โสฬส หรือ โสฬศ = 0.78125 สตางค์

นี่เป็นตัวอย่างของค่าของเงินที่เคยมีมาในอดีตจวบจนปัจจุบัน.

ส่วนเงินที่เรียกกันว่า ธนบัตร หรือแบงก์ ในสยาม หรือประเทศไทยนั้น เริ่มมีการใช้ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยได้มีการใช้ "เงินกระดาษ" เป็นครั้งแรก แต่ยังไม่ได้เรียกว่า "ธนบัตร" ใช้คำว่า "หมาย" เรียกแทนก่อนแรกๆ โดยออกใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ และคงใช้ต่อมาทั้งสิ้น ๓ รุ่น

แรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ "ตั๋วกระดาษ" ราคา ๑ อัฐ เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๗ เพื่อใช้แทนเงินเหรียญกษาปณ์ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "อัฐกระดาษ" ที่ใช้เรียกขานกันในหมู่ประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ - ๒๔๔๒ สิบปีต่อมา ทรงอนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศที่เข้ามาเปิดสาขาดำเนินงานในประเทศไทย คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้, ธนาคารชาเตอรด์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน และธนาคารแห่งอินโดจีน ให้สามารถออกธนบัตรของตัวเองได้ เรียกว่า "แบงก์โน้ต" หรือ "แบงก์" นับว่าเป็น "บัตรธนาคาร" รุ่นแรกๆ ที่มีใช้ในประเทศไทย
จึงมีคำเรียก ธนบัตร ว่า แบงก์กันตั้งแต่ช่วงนี้.

จนถึงวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ จึงทรงให้ยกเลิก และประกาศใช้ "ธนบัตร" แบบแรกของประเทศไทยหรือ สยามเอง อย่างเป็นทางการ

รู้ไว้ใช่ว่า จริงไหม.

CR::: FB เรื่องเล่า ภาพเก่า ในอดีตราชบุรี.



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์