เปิดเบื้องหลังภาพในประวัติศาสตร์ และคำปฏิเสธอย่างนุ่มนวลของพระนารายณ์


เปิดเบื้องหลังภาพในประวัติศาสตร์ และคำปฏิเสธอย่างนุ่มนวลของพระนารายณ์

         สร้างความประทับใจให้คนที่ดูละครกันทั้งประเทศกับฉากภาพจำลองเหตุการณ์ราชทูตฝรั่งเศส เชอรวาเลียร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chaumont) ผู้แทนพระองค์ของพระเจ้าหลุยส์ ที่ เข้าเฝ้าและถวายพระราชสาส์นแด่สมเด็จพระนารายร์มหาราช ณ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท กรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2228 (ค.ศ.1685)


เพจโบราณนานมา ได้อธิบายเรื่องราวประวัติศาสตร์นี้ไว้ว่า

เชอวาลิเยร์ เดอ โชมองต์ คณะฑูตฝรั่งเศสคณะที่ ๑ ที่เข้ามาถวายพระราชสาส์น แด่สมเด็จพระนารายร์มหาราช มีชื่ออีกชื่อว่า อาแล็กซ็องดร์ เกิดใน พ.ศ. ๒๑๘๓ ณ กรุงปารีส

อาแล็กซ็องดร์เป็นข้าราชการชาวฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นราชทูต ตำแหน่ง "อัศวินแห่งโชมง" ไปยังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คณะทูตพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสครั้งนี้

นอกจากอาแล็กซ็องดร์แล้วยังประกอบด้วยบาทหลวงโรมันคาทอลิก ได้แก่ บาทหลวงฟร็องซัว-ตีมอเลอง เดอ ชัวซี (François-Timoléon de Choisy) บาทหลวงกี ตาชาร์ (Guy Tachard) พร้อมด้วยบาทหลวงเบนีญ วาเช (Bénigne Vachet) จากคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส คณะทูตที่นำโดยอาแล็กซ็องดร์ครั้งนี้เดินทางไปกรุงศรีอยุธยาพร้อมด้วยคณะทูตที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงส่งมาก่อนหน้านี้อันมีเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) หรือ "ราชทูตลิ้นทอง" นำไปเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๖

โดยธรรมเนียมไทยนั้นถือว่าสิ่งแทนองค์พระมหากษัตริย์คือพระราชสาส์น ส่วนตัวราชทูตนั้นเป็นเพียงผู้ที่อัญเชิญพระราชสาส์นเท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจใดๆ และปกติคณะทูตไม่ว่าจะมาจากชาติใดๆ เมื่อได้เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินจะต้องปฏิบัติตามธรรมเนียมไทยคือต้องหมอบคลานและกราบถวายบังคม ไม่เว้นแม้แต่ราชทูตจากอาณาจักรใหญ่อย่างจีน เปอร์เซีย หรือโมกุล

เชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ ได้ทราบธรรมเนียมปฏิบัติของไทยก็ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามเนื่องจากเห็นว่าไม่สมเกียรติในฐานะผู้แทนพระองค์พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ต้องการจะถวายพระราชสาส์นให้ถึงพระหัตถ์สมเด็จพระนารายณ์โดยตรงตามอย่างธรรมเนียมยุโรป จึงได้ขอร้องให้ราชสำนักอยุธยาจัดขุนนางมาทำความตกลงเรื่องพระราชพิธีเพื่อให้เป็นที่สมเกียรติทั้งสองฝ่าย สมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดให้ (Constance Phaulkon) ขุนนางชาวกรีกซึ่งเป็นที่โปรดปราน ในเวลานั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น "ออกพระฤทธิคำแหงภักดี" เป็นผู้ทำความตกลงกับฝรั่งเศส

วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๒๒๘ คณะทูตฝรั่งเศสได้เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นต่อสมเด็จพระนารายณ์ที่พระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา ตัวโชมงต์และชาวฝรั่งเศสทั้งปวงได้รับเกียรติให้สวมหมวกและรองเท้าเวลาเข้าเฝ้าได้ตามธรรมเนียมฝรั่งเศส และมีเก้าอี้ให้โชมงต์ได้นั่งรอ

แต่เมื่อโชมงต์ได้เข้าเฝ้าแล้วกลับพบว่าฟอลคอนผิดสัญญาที่ให้ไว้ เพราะสมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่บนสีหบัญชรที่สูงมากจนไม่สามารถถวายพระราชสาส์นต่อพระหัตถ์ได้ และฟอลคอนกลับเอาพานซึ่งมีด้ามจับยาวสามฟุตมาให้โชมงต์วางพระราชสาส์นสำหรับชูถวายขึ้นไปแทน

ตัวโชมงต์เองก็ไม่ใช่คนยอมใครง่ายๆ เมื่อเขาได้กราบถวายบังคมทูลเสร็จแล้ว จึงนำพระราชสาส์นใส่พานเพื่อทูลเกล้าถวาย แต่ตัวโชมงต์จับคอพานไม่จับปลายไม้แล้วชูถวายขึ้นไปสุดแขน ด้วยเห็นว่า ไม่สมเกียรติเพราะเขาต้องการจะถวายพระราชสาส์นให้ใกล้ที่สุด (ตามที่บาทหลวงตาชารด์อ้าง) เขาจึงประสงค์จะให้สมเด็จพระนารายณ์น้อมพระองค์ออกจากสีหบัญชรมารับ แม้ฟอลคอนที่หมอบอยู่จะพยายามบอกให้ยื่นพานขึ้นไป "ชูขึ้นไปซิชูขึ้นไป" แต่ท่านราชทูตก็ไม่สนใจ และหาชูแขนขึ้นไม่

ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงน้อมพระองค์ออกจากสีหบัญชรมารับพระราชสาส์น โดยทรงพระสรวล (หัวเราะ) และทรงนำพระราชสาส์นนั้นจบเหนือเศียรเกล้าเป็นการให้เกียรติ

ภารกิจของเชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ ที่ได้รับมาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส และมีบาทหลวงมาด้วยนั้น นอกจากส่งพระราชสาส์น ก็เพื่อชักชวนให้สมเด็จพระนารายณ์เข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก เพื่อให้การเจรจาทำสัญญาทางการค้าสำคัญหลายฉบับเป็นไปอย่างราบรื่นขึ้น แต่การนี้ไม่ประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้ เพจดังกล่าวยังเล่าถึงตอนที่ สมเด็จพระนารายณ์ ได้รับสั่งปฏิเสธอย่างนุ่มนวลและฉลาดหลักแหลมเป็นอย่างยิ่ง ไม่ทรงตอบรับแต่ก็ไม่ปิดโอกาส ตรัสเสียงเรียบ นุ่ม แต่จริงจังชัดเจน ว่า "ทุกศาสนาสอนให้คนทำความดี เกรงบาป บำเพ็ญบุญ พระเจ้าแผ่นดินที่ปกครองคนมีศาสนา มิว่าจะเป็นศาสนาใดย่อมปกครองง่ายกว่าคนมิมีศาสนา ขอท่านบาทหลวงทุกท่านสอนศาสนาให้เต็มที่ อย่าได้เกรงอะไร เราไม่กีดขวางราษฎรของเราที่จะเลื่อมใสในศาสนาใด สำหรับตัวของเรายังไม่รู้แน่ชัดว่าศาสนาคริสต์นั้นเป็นอย่างไร เราจะขอศึกษาก่อน ขอให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสผู้ทรงพระปรีชาญาณได้รับทราบว่า การที่พระเจ้าแผ่นดินจะเปลี่ยนศาสนาที่เคยนับถือกันมาสองพันกว่าปีนั้นเป็นเรื่องยากลำบากยิ่งนัก แต่...ก็มิใช่เรื่องสุดวิสัย"

เปิดเบื้องหลังภาพในประวัติศาสตร์ และคำปฏิเสธอย่างนุ่มนวลของพระนารายณ์


เปิดเบื้องหลังภาพในประวัติศาสตร์ และคำปฏิเสธอย่างนุ่มนวลของพระนารายณ์

Cr::: ประวัติศาสตร์กระซิบ History Whisperer

เปิดเบื้องหลังภาพในประวัติศาสตร์ และคำปฏิเสธอย่างนุ่มนวลของพระนารายณ์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์