ย้อนเรื่องราว ทำไมเราจึงมีวัฒนธรรมยืนในโรงภาพยนตร์?


ย้อนเรื่องราว ทำไมเราจึงมีวัฒนธรรมยืนในโรงภาพยนตร์?

จุดเริ่มต้นของการบรรเลงเพลงสรรเสริญในโรงหนัง

ธรรมเนียมการบรรเลงเพลงสรรเสริญในโรงหนังนั้น เชื่อกันว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศอังกฤษ เพื่อเสริมอุดมการณ์คนให้รักพระเจ้า และสถาบันกษัตริย์

และมีรากฐานมาจากการเปิดเพลง "God Save The Queen/King" หลังจบการแสดง หรือการแข่งอื่นๆ ที่มีให้เห็นอยู่บ้างตั้งแต่ในอดีตอีกที

ในตอนที่ธรรมเนียมการเปิดเพลงนี้เริ่มต้นขึ้นในโรงหนังใหม่ๆ ก่อนการเล่นบทเพลงนี้ ก็มักจะมีการนำเสนอเรื่องราวของทหารอังกฤษในดินแดนต่างประเทศ หรือข่าวสำคัญๆ ในช่วงเวลานั้น

ทำให้การยืนเคารพบทเพลงค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ความทรงจำของสงครามยังสดใหม่อยู่ แม้บทเพลงที่ว่าจะบรรเลงหลังภาพยนตร์จบไปแล้ว


การเสื่อมความนิยมของเพลงสรรเสริญในโรงหนัง

อย่างไรก็ตามเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปจน เข้าสู่ช่วงต้นของการครองราชย์โดยราชินีเอลิซาเบธที่ 2 (ราวๆ ปี 1952-1970) การยืนเคารพบทเพลง ดังกล่าวกลับค่อยๆ ได้รับความนิยมน้อยลงไปเรื่อยๆ

แทนที่คนจะยืนเคารพกันอย่างที่หวัง ในหลายๆ ครั้งผู้คนก็ถึงกับจะเดินออกจากโรงหนังไปเลย เนื่องจากการเคารพดังกล่าวไม่ได้ถูกบังคับ แถมข่าวสารเริ่มหาดูได้ง่ายทางโทรทัศน์แล้ว

และที่สำคัญคือคนส่วนใหญ่มักจะกลัวว่าตัวเองจะตกรถหลังดูภาพยนตร์

แน่นอนว่าเมื่อเป็นแบบนี้โรงหนังหลายแห่ง (เช่นในนิวซีแลนด์ที่มีราชินีเอลิซาเบธที่ 2 เป็นประมุขเหมือนกัน) จึงตัดสินใจที่จะนำบทเพลงมาเปิดก่อนที่หนังจะแสดงแทน

แต่สุดท้ายเมื่อหลายๆ ฝ่ายเริ่มเข้าใจว่าผู้คนไม่ได้สนใจที่จะยืนเคารพเพลงตั้งแต่ต้นเลยด้วยซ้ำ การเปิดเพลง God Save The Queen ในโรงหนังจึงค่อยๆ หายไปในช่วงปี 1970 ทั้งในอังกฤษ และประเทศอื่นๆ ในอาณานิคม

ย้อนเรื่องราว ทำไมเราจึงมีวัฒนธรรมยืนในโรงภาพยนตร์?

เพลงสรรเสริญในโรงหนังกับประเทศไทย

ก่อนอื่นขอเท้าความไปถึงอดีต เมื่อสมัยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 6 ทรงครองราชย์อยู่ ในยุคนั้นซึ่งตรงกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 แน่นอนว่าเทคโนโลยีและการสื่อสารย่อมไม่ได้ดีและรวดเร็วเท่าในทุกวันนี้ สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้การกระจายข่าวสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากที่สุดก็คือ ‘ภาพยนตร์' ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิทยุและโทรทัศน์มาก เพราะระบบเสียงและระบบสัญญาณไม่ได้เสถียรเท่าทุกวันนี้ เมื่อมีข่าวสารจะแจ้งให้ทราบ ก็จะให้คนมาที่โรงภาพยนตร์เพื่อรับชมข่าวสารนั้น ซึ่งในยุคนั้นคนจะเรียกสิ่งนี้ว่า ‘หนังข่าว'

โดยในตอนนั้นการฉายหนังข่าวและภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงในประเทศไทย จะมีการฉายบนผืนผ้าใบสีขาว โดยผู้ที่มีสิทธิ์เผยแพร่หรือประกาศข่าวสารใดๆ จะต้องมาจาก ‘หน่วยงานราชการ' เท่านั้น ซึ่งขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งพระองค์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในการสื่อสารข่าวสารต่างๆ นั่นจึงเป็นเหตุที่ว่า ทำไมราษฎรในยุคนั้นจึงต้องยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ด้วยหลังรับชมหนังข่าวเสร็จ และด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีพิธีทางราชการประกอบอยู่ด้วยในการมารับชมภาพยนตร์

แต่ถึงกระนั้นในปัจจุบันนี้หลายคนอาจจะคิดสงสัยต่อว่า โรงภาพยนตร์ก็ไม่ได้มีการฉายหนังข่าวเพื่อประกาศข่าวสารแบบแต่ก่อนแล้ว มีแต่ภาพยนตร์เพื่อความบันเทิง ทำไมยังต้องยืนถวายความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีอีก และทำไมถึงนำขั้นตอนนี้ไปไว้ก่อนภาพยนตร์ฉาย? เหตุผลก็เพราะว่าจากการสังเกตพฤติกรรมการรับชมภาพยนตร์ของคน พบว่าส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่รอให้ End Credit ภาพยนตร์จบก่อนแล้วค่อยเดินออกจากโรงหนัง ซึ่งจะทำให้ไม่มีคนยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ได้ย้ายขั้นตอนนี้ไปไว้ก่อนที่ทุกคนจะได้เริ่มรับชมภาพยนตร์นั่นเอง

ซึ่งการยืนขึ้นเพื่อเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นเป็นธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว เพราะในระเบียบส่วนราชการในสำนักพระราชวังกำหนดให้วาระและโอกาสในการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี กำหนดไว้ในส่วนหมายเหตุเพิ่มเติมนอกเหนือจาก 8 ข้อหลักไว้ว่า

นอกจากมหรสพ การเสด็จพระราชดำเนิน และพระราชพิธีต่างๆ แล้ว ในการแข่งกีฬา การฉายภาพยนตร์ หรือการแสดงดนตรี ต้องมีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนทำการแสดงเสมอๆ หรือแม้แต่ในอดีต หากใครที่ดูทีวีจนดึกดื่นเที่ยงคืน ก็คงจะเคยได้เห็นตอนที่รายการโทรทัศน์ยุติการฉายประจำวัน ก็จะใช้เพลงนี้ขึ้นเพื่อยุติการแพร่ภาพ รวมไปถึงการกระจายเสียงทางวิทยุด้วย เมื่อเข้าสู่วันใหม่ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย

เครดิตแหล่งข้อมูล : gqthailand,catdumb

ย้อนเรื่องราว ทำไมเราจึงมีวัฒนธรรมยืนในโรงภาพยนตร์?


ย้อนเรื่องราว ทำไมเราจึงมีวัฒนธรรมยืนในโรงภาพยนตร์?

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์