มาดูกัน รัฐแจกเงินค่าอะไรบ้าง
มาตรการที่ว่า มีอะไรบ้าง ไปดูกัน
ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายช่วงสิ้นปี คนละ 500 บาท
ผู้มีสิทธิได้รับ : ผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกคนทั่วประเทศ จำนวน 14.5 ล้านคน ทั้งที่ได้ลงทะเบียนไปแล้ว 11.4 ล้านคน และผู้ที่ลงทะเบียนเพิ่มเติมอีก 3.1 ล้านคน
ถือว่าเป็นเหมือนโบนัสให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสใช้จ่ายกันในช่วงปลายปีเลยก็ว่าได้นะครับ ด้วยการเติมเงินเข้าไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 500 บาท/คน โดยจะได้รับครั้งเดียวในช่วงเดือนธันวาคม 2561 นี้
เริ่มจ่ายเงินเข้าบัตร (e-Money) :
- ผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่แล้ว เริ่มจ่ายเงินให้วันที่ 8-10 ธันวาคม 2561
- ผู้ที่ยังไม่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (สำหรับคนที่ลงทะเบียนรอบ 2) เริ่มจ่ายเงินให้วันที่ 5 มกราคม 2562 และ 1 กุมภาพันธ์ 2562
กดเงิน 500 นี้ ได้ถึงเมื่อไร : เงินจำนวนนี้ไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้นจะกดเงินออกมาเมื่อไรก็ได้ ไม่ได้กำหนดว่าต้องใช้ภายในเดือนนั้นเหมือนกับวงเงินสวัสดิการซื้อสินค้าธงฟ้า 200-300 บาท ดังนั้นหากไม่ได้กดเงินออกมา เงินของขวัญ 500 บาท ก็จะคงอยู่ในบัตรตลอดไป
ผู้มีสิทธิได้รับ : ผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั่วประเทศ จำนวน 14.5 ล้านคน แต่จะให้ครัวเรือนละ 1 สิทธิ ซึ่งปัจจุบันมีครัวเรือนที่มีสิทธิประมาณ 8.2 ล้านครัวเรือน
โดยจะช่วยเหลือค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 230 บาท/เดือน
ใช้น้ำประปา ไม่เกิน 100 บาท/เดือน ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟในเดือนนั้น ๆ เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 - กันยายน 2562 รวม 10 เดือน แต่หากมีการใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้มีรายได้น้อยจะไม่ได้รับสิทธิในมาตรการนี้ ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
ส่วนวิธีรับเงินช่วยเหลือ หากผู้มีรายได้น้อยใช้น้ำและไฟฟ้าอยู่ในกรอบวงเงินที่กำหนด เมื่อตอนที่นำบิลไปชำระที่การประปาและการไฟฟ้า ให้แสดงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้วย หลังจากนั้นกรมบัญชีกลางจึงจะโอนเงินตามที่ชำระ คืนกลับเข้าไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในช่วงกลางเดือนของเดือนถัดไป
เริ่มจ่ายเงินเข้าบัตร (e-Money) : ทุกวันที่ 18 ของเดือน โดยเริ่มคืนเงินครั้งแรกวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562
ค่าไฟฟ้าฟรี 230 บาท/เดือน
ลงทะเบียนรับสิทธิ์ใช้ไฟฟรีได้อย่างไร ?
สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 230 บาท/เดือน ที่ต้องการรับสิทธิ์ใช้ไฟฟ้าฟรี จะต้องลงทะเบียนกับหน่วยงานก่อน โดย
* ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ, นนทบุรี สามารถเลือกลงทะเบียนได้ตามช่องทางต่าง ๆ คือ
- การไฟฟ้านครหลวงเขตต่าง ๆ
- เว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง
- แอปพลิเคชั่น MEA Smart Life
* ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ต่างจังหวัด สามารถลงทะเบียนได้ที่
- เว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในพื้นที่ทุกแห่ง
- PEA Shop และ PEA Mobile Shop ในพื้นที่ทุกแห่ง
- แอปพลิเคชั่น PEA Smart plus
- ตัวแทนเก็บเงินค่าไฟฟ้า
- PEA Call Center โทร. 1129
กรณีเช่าบ้านอยู่ ไม่ได้เป็นเจ้าของมิเตอร์ก็สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ใช้ไฟฟ้าฟรีได้ หากปกติจ่ายค่าไฟไม่เกินเดือนละ 230 บาท
หากใช้สิทธิ์ไฟฟ้าฟรีไม่เกิน 50 หน่วย/เดือน อยู่แล้ว จะได้รับสิทธิ์ค่าไฟฟ้า 230 บาท/เดือนหรือไม่ ?
สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ใช้สิทธิ์มาตรการค่าไฟฟ้าฟรี จากการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ให้ใช้สิทธิ์ฟรีตามมาตรการเดิม แต่หากเดือนใดมีการใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วย/เดือน แต่ใช้ไม่เกิน 230 บาท/ครัวเรือน/เดือน จะต้องใช้ตามมาตรการใหม่ รับสิทธิ์ตามบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระหว่างเดือนธันวาคม 2561-กันยายน 2562
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ การไฟฟ้านครหลวง โทร. 1130 หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร. 1129
ค่าประปาฟรี 100 บาท/เดือน
ลงทะเบียนรับสิทธิ์ใช้น้ำฟรีได้อย่างไร ?
สำหรับผู้ที่ใช้น้ำประปาไม่เกิน 100 บาท/เดือน ที่ต้องการรับสิทธิ์ใช้น้ำฟรี จะต้องลงทะเบียนกับหน่วยงานก่อน โดย
* ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ, นนทบุรี สามารถเลือกลงทะเบียนได้ตามช่องทางต่าง ๆ คือ
- สำนักงานประปาสาขา 18 แห่ง
- ศูนย์บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต, เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ และเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
- เคาน์เตอร์รับชำระเงิน กปน. สำนักงานใหญ่
ตั้งแต่วันนี้ - 31 มกราคม 2562 โดยเตรียมหลักฐาน คือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และหมายเลขทะเบียนผู้ใช้น้ำ มาลงทะเบียน และมีเงื่อนไข ดังนี้
เป็นผู้มีสิทธิ์ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ กับ กปน. เพียงครั้งเดียว (ลงทะเบียน 1 บัตร ต่อ 1 หมายเลขทะเบียนผู้ใช้น้ำ)
ยอดค่าน้ำที่ได้รับสิทธิ์ คือยอดค่าน้ำที่ใช้ในเดือนธันวาคม 2561 - กันยายน 2562 หรือยอดที่ระบุในใบแจ้งค่าน้ำเดือนมกราคม - ตุลาคม 2562
มียอดเงินที่ต้องชำระทั้งสิ้นไม่เกิน 100 บาท ต่อ 1 ทะเบียนผู้ใช้น้ำ ต่อเดือน หากเดือนใดมียอดเกิน 100 บาท จะไม่สามารถรับสิทธิ์ดังกล่าวในเดือนนั้นได้ และต้องชำระเองเต็มจำนวน
สิทธิ์นี้ไม่ครอบคลุมสำหรับผู้ใช้น้ำในหอพักหรือคอนโดมิเนียม
ชำระค่าน้ำตามปกติผ่านช่องทางต่าง ๆ ของ กปน. และจะได้รับการโอนเงินคืนผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามยอดชำระจริงในกลางเดือนถัดไป
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการประชาชน โทร. 1125 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ต่างจังหวัด สามารถลงทะเบียนได้ที่
- เว็บไซต์การประปาส่วนภูมิภาค
- การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่
- สำนักงาน กปภ. เขต 1-10
- สำนักงาน กปภ. 234 สาขาทั่วประเทศ
ผู้มีสิทธิได้รับ : ผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ระหว่างเดือนธันวาคม 2561 - กันยายน 2562 และต้องเช่าที่อยู่อาศัยหรือไม่มีที่อยู่อาศัย ซึ่งตอนนี้มีประมาณ 2.2 แสนคน
รัฐจะช่วยเหลือค่าเช่าบ้านให้ผู้สูงอายุเดือนละ 400 บาท ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 - กันยายน 2562 รวม 10 เดือน ผ่านการโอนเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ทั้งนี้ หากผู้มีสิทธิรายใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในระหว่างเดือนธันวาคม 2561-กันยายน 2562 จะได้รับเงินในเดือนเกิดเป็นครั้งแรก จนสิ้นสุดมาตรการ
เริ่มจ่ายเงินเข้าบัตร (e-money) : ทุกวันที่ 12 ของเดือน- ผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่แล้ว เริ่มจ่ายเงินให้วันที่ 12 ธันวาคม 2561
- ผู้ที่ยังไม่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (สำหรับคนที่ลงทะเบียนรอบ 2) เริ่มจ่ายเงินให้วันที่ 5 มกราคม 2562 และ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้มีสิทธิได้รับ : ผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ระหว่างเดือนธันวาคม 2561 -กันยายน 2562 จำนวน 3.5 ล้านคน
เป็นเงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายผู้สูงอายุในการเดินทางไปรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ด้วยการโอนเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 1,000 บาทต่อคน (ได้รับครั้งเดียว)
หากผู้มีสิทธิรายใดมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ในระหว่างเดือนธันวาคม 2561 - กันยายน 2562 จะได้รับเงินวันที่ 21 ของเดือนเกิด
เริ่มจ่ายเงินเข้าบัตร (e-Money) :- ผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่แล้ว เริ่มจ่ายเงินให้วันที่ 21 ธันวาคม 2561
- ผู้ที่ยังไม่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (สำหรับคนที่ลงทะเบียนรอบ 2) เริ่มจ่ายเงินให้วันที่ 5 มกราคม 2562 และ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ทั้ง 4 มาตรการ ผู้มีรายได้น้อยสามารถนำวงเงินที่ได้รับเพิ่มเติมในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ออกมาใช้ได้ ดังนี้
1.ซื้อสินค้าและบริการผ่านเครื่อง EDC กับร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านค้าอื่น ๆ ที่ร่วมรายการ
2.ซื้อสินค้าและบริการผ่านแอปพลิเคชันถุงเงินประชารัฐ
3.ถอนเป็นเงินสดออกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน - อ่านวิธีกดเงินสด บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
จากข้อมูลการใช้จ่ายจริงของผู้มีสิทธิในระหว่างวันที่ 1 - 30 พฤศจิกายน 2561 รวมเป็นเงินกว่า 97.4 ล้านบาท คิดเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) จำนวนกว่า 6 ล้านบาท โดยกันไว้เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 1% ส่วนอีก 6% จะนำข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายมาประมวลผลเพื่อจ่ายเงินชดเชยไม่เกิน 500 บาท จากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจและฐานราก แบ่งเป็นเงินชดเชยเพื่อนำไปใช้จ่าย 5% เป็นเงินกว่า 4.4 ล้านบาท โดยโอนเข้ากระเป๋า e-Money ให้แก่ผู้มีสิทธิผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และเงินชดเชยอีก 1% เพื่อการออม เป็นเงิน 877,585.35 บาท โดยจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
สำหรับการจ่ายเงินชดเชยจากการใช้จ่ายในเดือนพฤศจิกายนเข้ากระเป๋า e-Money นั้น กรมบัญชีกลางจะเริ่มจ่ายในวันที่ 14 ธันวาคม 2561 เป็นเดือนแรก ส่วนข้อมูลการใช้จ่ายในเดือนถัดไปก็จะนำมาประมวลผลและจะจ่ายเงินชดเชยให้ทุกวันที่ 15 ของเดือน หากเดือนไหนตรงกับวันหยุดจะจ่ายในวันทำการก่อนหน้า ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2562 (ซึ่งเป็นข้อมูลการใช้จ่ายระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน 2562) เป็นเดือนสุดท้าย
ดังนั้น ผู้มีสิทธิที่ได้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐชำระเงินค่าสินค้าอุปโภคบริโภค (ไม่รวมสินค้าที่มีภาษีสรรพสามิต เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ น้ำมันเชื้อเพลิง หรือสินค้าไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่มอื่นๆ) ในเดือนพฤศจิกายน 2561 จำนวน 362,531 ราย จะได้เงินโอนเข้ากระเป๋า e-Money ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นเงินจำนวนประมาณ 4.4 ล้านบาท และจะได้เงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อการออม โดย ธ.ก.ส. จะโอนเงินเข้าบัญชีให้ผู้มีสิทธิจำนวน 33,676 ราย และธนาคารออมสินจะโอนเงินเข้าบัญชีให้ผู้มีสิทธิจำนวน 328,855 ราย รวมเป็นยอดเงินเพื่อการออม จำนวนทั้งสิ้น 877,585.35 บาท
ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับเงินชดเชยภาษีมูลค่าเพิ่มคืนมากขึ้นตามจำนวนเงินที่ใช้จ่ายผ่านกระเป๋าวงเงิน และกระเป๋า e-Money ซึ่งผู้ถือบัตรสามารถเติมเงินของตนเองเข้ากระเป๋า e-Money สำหรับใช้จ่ายได้