เฉลย ทำไมท้องฟ้าสีแดง จากเหตุการณ์แชร์สนั่นทั่วเน็ต!!
จากชาวโซเชียลพากันแชร์เหตุการณ์ท้องฟ้าสีแดง : http://socialnews.teenee.com/penkhao/22635.html
ทาง Teenee.com มีคำตอบมาให้ เหตุการณ์การแชร์ข่าวท้องฟ้าสีแดงที่นครศรีธรรมราชกันสนั่นทั่วโลกโซเชียล บ้างก็ว่าเป็นช่วงเวลานรกเปิด บ้างก็พูดถึงเป็นลางร้าย ล่าสุดวันที่3 มกราคม 2561 ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยถึงสาเหตุท้องฟ้าสีแดงแล้วว่า เกิดจากพายุจะเข้า
ทำไมท้องฟ้าจึงเป็นสีแดง พี่มะพลมีคำตอบครับ ^^
แต่ในเวลาเช้าหรือเย็นนั้น แสงอาทิตย์ต้องเดินทางเฉียดผิวโลกมากขึ้น ทำให้ต้องผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาขึ้น จึงมีการกระเจิงเพิ่มขึ้น เมื่อแสงความยาวคลื่นสั้นอื่นๆ ถูกกระเจิงไปหมดแล้ว เราจึงสังเกตเห็นแสงสีแดงที่กระเจิงได้น้อยกว่า ในปริมาณที่มากกว่าแสงความยาวคลื่นอื่นๆ ด้วยเหตุนี้เองเราจึงสังเกตเห็นท้องฟ้าในยามเช้าหรือเย็นเป็นสีส้มแดง เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Atmospheric Extinction หรือ Reddening
ซึ่งถ้าหากเราอิงตามคำทำนายนี้ เราจะทำนายได้ว่าวันพรุ่งนี้จะต้องอากาศดีอย่างแน่นอน เพราะถ้าหากเราสามารถเห็นแสงสีแดงของดวงอาทิตย์ฉายไปยังบนเมฆได้ ก็แสดงว่าท้องฟ้าทางทิศตะวันตกที่ลับขอบฟ้าไปนั้นจะต้องเป็นฟ้าใสที่ปราศจากเมฆอย่างแน่นอน และนั่นหมายความว่าลมจากทิศตะวันตกจะต้องกำลังพัดเอาฟ้าใสมาในวันรุ่งขึ้น
ทาง Teenee.com มีคำตอบมาให้ เหตุการณ์การแชร์ข่าวท้องฟ้าสีแดงที่นครศรีธรรมราชกันสนั่นทั่วโลกโซเชียล บ้างก็ว่าเป็นช่วงเวลานรกเปิด บ้างก็พูดถึงเป็นลางร้าย ล่าสุดวันที่3 มกราคม 2561 ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยถึงสาเหตุท้องฟ้าสีแดงแล้วว่า เกิดจากพายุจะเข้า
ทำไมท้องฟ้าจึงเป็นสีแดง พี่มะพลมีคำตอบครับ ^^
ปรากฏการณ์ท้องฟ้าสีแดง
หากใครได้เห็นท้องฟ้ายามเช้าหรือเย็น อาจจะเห็นว่าท้องฟ้ามีสีแดงกว่าปกติ เพราะอะไรท้องฟ้ายามเช้าหรือเย็นถึงเป็นสีแดง และการที่มันมีสีแดงกว่าปกตินี้มันเกิดจากอะไรกันแน่?
การที่ท้องฟ้ายามเช้าหรือเย็นเป็นสีแดงนั้น เกิดจากการกระเจิงของแสง (scattering) เนื่องจากการกระเจิงของแสงนั้น จะเกิดขึ้นได้ดีกว่าในแสงที่มีความยาวคลื่นสั้น แสงที่มีสีฟ้าจึงจะสามารถกระเจิงได้ง่ายกว่าสีแดงเป็นอย่างมาก การกระเจิงของแสงสีฟ้านี้เอง ที่ทำให้เราเห็นท้องฟ้าในเวลากลางวันเป็นสีฟ้า
แต่ในเวลาเช้าหรือเย็นนั้น แสงอาทิตย์ต้องเดินทางเฉียดผิวโลกมากขึ้น ทำให้ต้องผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาขึ้น จึงมีการกระเจิงเพิ่มขึ้น เมื่อแสงความยาวคลื่นสั้นอื่นๆ ถูกกระเจิงไปหมดแล้ว เราจึงสังเกตเห็นแสงสีแดงที่กระเจิงได้น้อยกว่า ในปริมาณที่มากกว่าแสงความยาวคลื่นอื่นๆ ด้วยเหตุนี้เองเราจึงสังเกตเห็นท้องฟ้าในยามเช้าหรือเย็นเป็นสีส้มแดง เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Atmospheric Extinction หรือ Reddening
เนื่องจากการกระเจิงของแสงนั้นขึ้นอยู่กับฝุ่นในชั้นบรรยากาศของโลก ในบางครั้งที่มีฝุ่นเยอะเป็นพิเศษ เช่นในบริเวณที่มีเถ้าภูเขาไฟหรือไฟป่าลอยมา เราอาจจะพบว่าแสงสนธยามีความแดงเป็นพิเศษ
ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะมีฝุ่นมากหรือไม่ แต่แสงอาทิตย์สนธยานั้นก็แดงอยู่ทุกวัน แต่เราอาจจะไม่เห็นเมฆเป็นสีแดงทุกวัน เพราะว่าถ้าหากวันไหนฟ้าใสไม่มีเมฆเลย เราก็จะไม่สามารถเห็นแสงสีแดงของอาทิตย์ที่ลับขอบฟ้าไปแล้วสะท้อนอยู่บนฟ้า ในทางตรงกันข้าม ถ้าวันไหนเต็มไปด้วยเมฆทั้งหมด ก็อาจจะบดบังดวงอาทิตย์ทำให้ไม่สามารถมองเห็นแสงอาทิตย์ได้เช่นกัน ดังนั้นการที่จะเห็นเมฆสีแดงตอนอาทิตย์ตกได้ เราจำเป็นต้องมีเมฆอยู่เบื้องบน แต่ไม่มีเมฆระหว่างทางที่จะมาบดบังแสงอาทิตย์
มีคำกล่าวของทางกะลาสีฝรั่ง ที่กล่าวเอาไว้ว่า
Red sun at night, sailors' delight.
Red sun at morning, sailors take warning
Red sun at morning, sailors take warning
ซึ่งเป็นวิธีการพยากรณ์อากาศแบบพื้นบ้าน โดยกล่าวเอาไว้ว่าแสงสนธยาแดงในยามเย็น จะบอกถึงอากาศที่ดีในวันรุ่งขึ้น แต่แสงสนธยาแดงก่ำในตอนเช้านั้น จะหมายถึงพายุฝนฟ้าคะนองที่กำลังจะมา และเรือเล็กไม่ควรออกจากฝั่ง
ซึ่งถ้าหากเราอิงตามคำทำนายนี้ เราจะทำนายได้ว่าวันพรุ่งนี้จะต้องอากาศดีอย่างแน่นอน เพราะถ้าหากเราสามารถเห็นแสงสีแดงของดวงอาทิตย์ฉายไปยังบนเมฆได้ ก็แสดงว่าท้องฟ้าทางทิศตะวันตกที่ลับขอบฟ้าไปนั้นจะต้องเป็นฟ้าใสที่ปราศจากเมฆอย่างแน่นอน และนั่นหมายความว่าลมจากทิศตะวันตกจะต้องกำลังพัดเอาฟ้าใสมาในวันรุ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม คำทำนายพื้นบ้านนี้สามารถใช้ได้เฉพาะกับทางประเทศแถบเขตอบอุ่นเพียงเท่านั้น เนื่องจากในแถบอบอุ่นนั้น ลมจะมีทิศทางในการพัดจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเป็นส่วนมาก (เนื่องจากการหมุนของโลก) แต่สำหรับประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรานั้น ทิศทางของลมนั้นไม่ได้มีทิศทางที่แน่ชัดตายตัวเช่นในแถบเขตอบอุ่น และพยากรณ์อากาศของกทม. ก็ดูเหมือนจะทำนายว่าวันรุ่งขึ้นน่าจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง
ซึ่งหากเราสงสัยว่าระหว่างคำทำนายของกรมอุตุกับสีเมฆนั้น อันไหนแม่นกว่ากัน วิธีที่สามารถพิสูจน์ได้ไม่ยาก ก็คือรอดูวันพรุ่งนี้ และหากเราทำการสังเกตและจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอเพื่อเปรียบเทียบ เราก็จะสามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าวิธีใดมีความแม่นยำมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
นอกจากนี้ ในทางดาราศาสตร์นั้น กระบวนการ Extinction นี้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่เฉพาะชั้นบรรยากาศของโลกเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อเราสังเกตดาวฤกษ์ผ่านกลุ่มเนบิวลาหรือแถบฝุ่นของกาแล็กซีทางช้างเผือก เราก็จะพบว่าดาวฤกษ์เบื้องหลังนั้นสี "แดง" กว่าอย่างเห็นได้ชัด เราเรียกว่า Interstellar Extinction นอกไปจากนี้บริเวณที่ฝุ่นหนามากๆ เราอาจจะไม่สามารถสังเกตเห็นดาวฤกษ์ในช่วงความยาวคลื่นแสงปรกติได้เลย แต่เรายังสามารถสังเกตเห็นได้ผ่านทางความยาวคลื่นอินฟราเรดหรือวิทยุ ที่มีความยาวคลื่นสูงกว่าเป็นอย่างมาก"
เครดิต : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
เครดิต : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
ขอบคุณ FB : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น