ผลวิจัยเผยอารมณ์ด้านลบก็ทำให้มีความสุขได้
คณะนักวิจัยนานาชาตินำโดยมหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเลมของอิสราเอล เผยผลการศึกษาล่าสุดที่พบว่า คนเราจะมีความสุขได้หากสามารถรู้สึกถึงอารมณ์ที่ต้องการ แม้ว่าอารมณ์นั้นจะเป็นอารมณ์ด้านลบเช่นความโกรธเกลียดก็ตาม
ผลการค้นพบชี้ว่า ความสุขหรือความพึงพอใจในชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ซับซ้อนไปกว่าการได้รู้สึกรื่นรมย์และไร้ความทุกข์เจ็บปวดเพียงอย่างเดียว โดยได้ทดลองให้นักศึกษามหาวิทยาลัย 2,300 คน จาก 8 ประเทศที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน ตอบแบบสอบถาม โดยผู้เข้าร่วมทดลองต้องให้คะแนนระดับความสุขโดยรวมของตนเอง จากนั้นให้ระบุอารมณ์แบบต่างๆ ที่ตนเองต้องการจะรู้สึก เทียบกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นจริงและรู้สึกได้ในชีวิตประจำวัน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้พบว่า แม้คนส่วนใหญ่จะต้องการรู้สึกถึงอารมณ์ดีๆ ในทางบวกให้มากขึ้น เช่น ต้องการจะรู้สึกรัก เมตตา เห็นอกเห็นใจผู้อื่น แต่คนกลุ่มนี้จะมีความสุขและพึงพอใจมากที่สุด เมื่อได้รู้สึกถึงอารมณ์ที่ตนเองต้องการในชีวิตจริง แม้ความรู้สึกที่ต้องการจะเป็นอารมณ์ด้านลบ เช่น อารมณ์โกรธและเกลียดก็ตาม
ดร.มายา ทาเมียร์ หนึ่งในคณะผู้วิจัยอธิบายโดยยกตัวอย่างว่า "บางคนที่ได้อ่านข่าวเด็กถูกล่วงละเมิดแต่กลับรู้สึกเฉยๆ อาจเกิดความไม่พึงพอใจได้ เพราะคิดว่าตนควรจะต้องรู้สึกโกรธให้มากกว่านั้น ส่วนผู้หญิงที่ต้องการออกจากความสัมพันธ์ที่คู่ครองข่มเหงทำร้ายมาโดยตลอดแต่ก็ไม่สามารถจะตัดขาดได้ อาจกลับมีความสุขขึ้นหากได้รู้สึกจริงๆ ว่า ตนเองเกลียดและรักคู่ครองน้อยลง"
อย่างไรก็ตาม ดร.ทาเมียร์ กล่าวย้ำว่า ข้อสรุปนี้ไม่รวมถึงผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรง เพราะคนกลุ่มนี้จะต้องการรู้สึกถึงความเศร้ามากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งต่างจากคนทั่วไป
ดร. แอนนา อเล็กซานดรอฟนา จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการทดลองดังกล่าวให้ความเห็นว่า ผลการศึกษานี้ช่วยให้วงการจิตวิทยาได้ย้อนคิดว่า การชี้วัดระดับความสุขโดยเทียบจากสัดส่วนระหว่างอารมณ์ด้านบวกและอารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่ถูกต้องเสมอไป รวมทั้งแนะว่าการทดลองครั้งต่อไปควรครอบคลุมถึงอารมณ์ด้านลบอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากความโกรธและเกลียด เช่น ความกลัว ความรู้สึกผิด และความเศร้าด้วย เพราะการรู้สึกถึงอารมณ์เหล่านี้อาจไม่ทำให้มีความสุขก็ได้
CR::::bbc.com/thai
ผลการค้นพบชี้ว่า ความสุขหรือความพึงพอใจในชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ซับซ้อนไปกว่าการได้รู้สึกรื่นรมย์และไร้ความทุกข์เจ็บปวดเพียงอย่างเดียว โดยได้ทดลองให้นักศึกษามหาวิทยาลัย 2,300 คน จาก 8 ประเทศที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน ตอบแบบสอบถาม โดยผู้เข้าร่วมทดลองต้องให้คะแนนระดับความสุขโดยรวมของตนเอง จากนั้นให้ระบุอารมณ์แบบต่างๆ ที่ตนเองต้องการจะรู้สึก เทียบกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นจริงและรู้สึกได้ในชีวิตประจำวัน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้พบว่า แม้คนส่วนใหญ่จะต้องการรู้สึกถึงอารมณ์ดีๆ ในทางบวกให้มากขึ้น เช่น ต้องการจะรู้สึกรัก เมตตา เห็นอกเห็นใจผู้อื่น แต่คนกลุ่มนี้จะมีความสุขและพึงพอใจมากที่สุด เมื่อได้รู้สึกถึงอารมณ์ที่ตนเองต้องการในชีวิตจริง แม้ความรู้สึกที่ต้องการจะเป็นอารมณ์ด้านลบ เช่น อารมณ์โกรธและเกลียดก็ตาม
ดร.มายา ทาเมียร์ หนึ่งในคณะผู้วิจัยอธิบายโดยยกตัวอย่างว่า "บางคนที่ได้อ่านข่าวเด็กถูกล่วงละเมิดแต่กลับรู้สึกเฉยๆ อาจเกิดความไม่พึงพอใจได้ เพราะคิดว่าตนควรจะต้องรู้สึกโกรธให้มากกว่านั้น ส่วนผู้หญิงที่ต้องการออกจากความสัมพันธ์ที่คู่ครองข่มเหงทำร้ายมาโดยตลอดแต่ก็ไม่สามารถจะตัดขาดได้ อาจกลับมีความสุขขึ้นหากได้รู้สึกจริงๆ ว่า ตนเองเกลียดและรักคู่ครองน้อยลง"
อย่างไรก็ตาม ดร.ทาเมียร์ กล่าวย้ำว่า ข้อสรุปนี้ไม่รวมถึงผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรง เพราะคนกลุ่มนี้จะต้องการรู้สึกถึงความเศร้ามากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งต่างจากคนทั่วไป
ดร. แอนนา อเล็กซานดรอฟนา จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการทดลองดังกล่าวให้ความเห็นว่า ผลการศึกษานี้ช่วยให้วงการจิตวิทยาได้ย้อนคิดว่า การชี้วัดระดับความสุขโดยเทียบจากสัดส่วนระหว่างอารมณ์ด้านบวกและอารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่ถูกต้องเสมอไป รวมทั้งแนะว่าการทดลองครั้งต่อไปควรครอบคลุมถึงอารมณ์ด้านลบอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากความโกรธและเกลียด เช่น ความกลัว ความรู้สึกผิด และความเศร้าด้วย เพราะการรู้สึกถึงอารมณ์เหล่านี้อาจไม่ทำให้มีความสุขก็ได้
CR::::bbc.com/thai
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น