นักวิทยาศาสตร์พบแบบแผนการทำงานของ “สมองสร้างสรรค์”
คนที่มีจินตนาการล้ำเลิศหรือมีความคิดแหวกแนวเป็นของตัวเองที่ไม่เหมือนใคร นอกจากจะมีอุปนิสัยแตกต่างจากคนทั่วไปแล้ว การทำงานของสมองในคนกลุ่มนี้ยังมีรูปแบบเฉพาะตัวอีกด้วย โดยล่าสุดนักวิจัยชาวอเมริกันพบว่าขณะที่มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ สมองส่วนต่าง ๆ จะมีการทำงานเชื่อมโยงกันเป็นแบบแผนเฉพาะรูปแบบหนึ่งในทุกครั้ง
คณะนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่ผลการค้นพบดังกล่าวในวารสารวิชาการ PNAS โดยระบุว่าได้ทดลองให้กลุ่มอาสาสมัครซึ่งเป็นผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะมีความคิดสร้างสรรค์เหนือกว่าผู้อื่น เช่น จิตรกร นักดนตรี ศิลปินแขนงต่าง ๆ และนักวิทยาศาสตร์ ทำแบบทดสอบใช้ความคิดสร้างสรรค์ขณะที่มีการใช้อุปกรณ์สแกนการทำงานของสมองไปด้วย
อาสาสมัครเหล่านั้นซึ่งอยู่ในสหรัฐฯ จีน และออสเตรีย จะได้เห็นภาพของวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้น และต้องบอกว่าจะนำวัตถุดังกล่าวไปใช้ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง โดยต้องตอบภายในเวลา 12 วินาที และจะมีกรรมการคอยให้คะแนนความสร้างสรรค์กับคำตอบที่ได้ด้วย
นายโรเจอร์ บีตตี ผู้นำการวิจัยครั้งนี้บอกว่า แม้ "แบบแผนของความคิดสร้างสรรค์" ในสมองที่ได้พบ จะไม่อาจนำไปใช้ทำนายได้แม่นยำ 100% ว่าใครคืออัจฉริยะผู้มีความคิดล้ำเลิศบ้าง แต่อย่างน้อยจะสามารถบอกให้รู้ได้ว่า ผู้ใดมีความยืดหยุ่นพลิกแพลงในรูปแบบการคิดมากกว่าผู้อื่นอย่างแน่นอน
คณะนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่ผลการค้นพบดังกล่าวในวารสารวิชาการ PNAS โดยระบุว่าได้ทดลองให้กลุ่มอาสาสมัครซึ่งเป็นผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะมีความคิดสร้างสรรค์เหนือกว่าผู้อื่น เช่น จิตรกร นักดนตรี ศิลปินแขนงต่าง ๆ และนักวิทยาศาสตร์ ทำแบบทดสอบใช้ความคิดสร้างสรรค์ขณะที่มีการใช้อุปกรณ์สแกนการทำงานของสมองไปด้วย
อาสาสมัครเหล่านั้นซึ่งอยู่ในสหรัฐฯ จีน และออสเตรีย จะได้เห็นภาพของวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้น และต้องบอกว่าจะนำวัตถุดังกล่าวไปใช้ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง โดยต้องตอบภายในเวลา 12 วินาที และจะมีกรรมการคอยให้คะแนนความสร้างสรรค์กับคำตอบที่ได้ด้วย
ในกรณีที่อาสาสมัครเกิดความคิดสร้างสรรค์ที่ดูเข้าทีและไม่เหมือนใคร นักวิจัยพบว่าเนื้อสมองส่วนสีขาวมีการทำงานเชื่อมโยงกันระหว่าง 3 เครือข่ายหลักที่ประกอบด้วยสมองหลายส่วน คือ 1. เครือข่ายยืนพื้นอัตโนมัติที่ทำงานเมื่อร่างกายพักผ่อน (Default-Mode Network-DMN) ซึ่งเชื่อมโยงกับการคิดแบบฉับพลันและการปล่อยจิตใจให้ล่องลอยไปอย่างไร้จุดหมาย 2. เครือข่ายการควบคุมบริหารที่ใช้ตั้งสมาธิจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และ 3. เครือข่ายความคิดแบบเลื่อนไหล ซึ่งใช้ตัดสินใจว่าเรื่องใดมีความสำคัญมาเป็นลำดับก่อนหรือหลัง
อันที่จริงการทำงานของสมอง 2 เครือข่ายแรกนั้นมีความขัดแย้งกัน แต่ในกรณีของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ นักวิจัยกลับพบว่าคนกลุ่มดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงการทำงานของเครือข่ายสมองทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกันในขณะเดียวได้เป็นอย่างดี จึงทำให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดสร้างสรรค์ความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมาได้เสมอนายโรเจอร์ บีตตี ผู้นำการวิจัยครั้งนี้บอกว่า แม้ "แบบแผนของความคิดสร้างสรรค์" ในสมองที่ได้พบ จะไม่อาจนำไปใช้ทำนายได้แม่นยำ 100% ว่าใครคืออัจฉริยะผู้มีความคิดล้ำเลิศบ้าง แต่อย่างน้อยจะสามารถบอกให้รู้ได้ว่า ผู้ใดมีความยืดหยุ่นพลิกแพลงในรูปแบบการคิดมากกว่าผู้อื่นอย่างแน่นอน
Cr::bbc thai
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น