ประมวลภาพคืนพระจันทร์สีเลือดสุกสกาว!ลอยเด่นกลางฟากฟ้า
ค่ำคืนวันที่ 31 ม.ค. 2561 หากใครได้มองขึ้นไปบนท้องฟ้า อาจจะได้เห็น ‘พระจันทร์เต็มดวง' ดวงใหญ่และเป็น ‘สีแดง' ซึ่งนี่คือ ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ‘ซูเปอร์ บลู บลัด มูน' หรือ พระจันทร์เต็มดวงสีเลือด
ผู้คนทางตะวันตกของอเมริกาเหนือและเอเชียตะวันออกจะมองเห็นภาพที่น่าทึ่งบนท้องฟ้า ผู้ที่ชื่นชอบการดูดาวจะได้เห็นปรากฏการณ์ ‘ซูเปอร์ บลู บลัด มูน' หรือ ‘พระจันทร์เต็มดวงสีเลือด' ... ซึ่งโดยปกติแล้ว ปรากฏการณ์พระจันทร์เต็มดวงที่เกิดขึ้นครั้งที่ 2 ในรอบ 1 เดือน จะเรียกว่า
‘บลูมูน'
ทั้งนี้ ‘ซูเปอร์มูน' เกิดขึ้นเมื่อพระจันทร์เดินทางเข้าใกล้โลกมากที่สุดบนเส้นโคจร ส่วน ‘จันทรุปราคา' เกิดขึ้นเมื่อพระอาทิตย์, โลก และพระจันทร์ โคจรทับกันเป็นเส้นตรง
และแม้จะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘บลูมูน' แต่เราจะไม่ได้เห็นพระจันทร์เป็นสีฟ้า แต่กลับเป็น ‘สีแดงเลือด' เพราะ ‘สีแดง' เป็นสีเดียวที่ทำให้ผู้คนบนโลกมองเห็นได้ผ่านชั้นบรรยากาศ พระจันทร์ที่เราจะเห็นจึงเป็น ‘สีแดงสุกสกาว'
องค์การนาซา เปิดเผยว่า ‘ซูเปอร์ บลู บลัด มูน' ที่กำลังจะเกิดขึ้น มีความพิเศษด้วยกัน 3 ประการ คือ 1.องค์การนาซา ระบุว่า ดวงจันทร์จะมีขนาดใหญ่กว่าพระจันทร์เต็มดวงปกติถึง 14%, 2.ปรากฏการณ์พระจันทร์เต็มดวงเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 1 เดือน จึงเรียกปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า ‘บลูมูน' และ 3.จะเกิดปรากฏการณ์ ‘จันทรุปราคา' พร้อมกับพระจันทร์เต็มดวง ... ความพิเศษทั้ง 3 อย่างนี้ เรียกว่า ‘ลูนาร์ ไทรเฟคตา' โดยปรากฏการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2525 หรือ 35 ปีที่แล้ว
สำหรับ ‘ประเทศไทย' ณ เวลา 20.00 น. ได้เกิด ‘จันทรุปราคาเต็มดวง' แล้ว โดยจันทรุปราคาเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณ 18.00 น. แล้ว ซึ่งจะสามารถชมได้ถึงเวลาประมาณ 23.00 น. ที่จะเป็นช่วงเวลาสิ้นสุดจันทรุปราคา
ส่วน ‘ต่างประเทศ' จะได้เห็น ‘ซูเปอร์ บลู บลัด มูน' ได้ชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบ คือ แถบอเมริกาเหนือ รัฐอลาสกาและรัฐฮาวาย ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องชมในช่วงเวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ขณะที่ ทวีปยุโรปและแอฟริกาจะมองไม่เห็นปรากฏการณ์นี้ เพราะเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันของที่นั่น
ผู้คนทางตะวันตกของอเมริกาเหนือและเอเชียตะวันออกจะมองเห็นภาพที่น่าทึ่งบนท้องฟ้า ผู้ที่ชื่นชอบการดูดาวจะได้เห็นปรากฏการณ์ ‘ซูเปอร์ บลู บลัด มูน' หรือ ‘พระจันทร์เต็มดวงสีเลือด' ... ซึ่งโดยปกติแล้ว ปรากฏการณ์พระจันทร์เต็มดวงที่เกิดขึ้นครั้งที่ 2 ในรอบ 1 เดือน จะเรียกว่า
‘บลูมูน'
ทั้งนี้ ‘ซูเปอร์มูน' เกิดขึ้นเมื่อพระจันทร์เดินทางเข้าใกล้โลกมากที่สุดบนเส้นโคจร ส่วน ‘จันทรุปราคา' เกิดขึ้นเมื่อพระอาทิตย์, โลก และพระจันทร์ โคจรทับกันเป็นเส้นตรง
และแม้จะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘บลูมูน' แต่เราจะไม่ได้เห็นพระจันทร์เป็นสีฟ้า แต่กลับเป็น ‘สีแดงเลือด' เพราะ ‘สีแดง' เป็นสีเดียวที่ทำให้ผู้คนบนโลกมองเห็นได้ผ่านชั้นบรรยากาศ พระจันทร์ที่เราจะเห็นจึงเป็น ‘สีแดงสุกสกาว'
องค์การนาซา เปิดเผยว่า ‘ซูเปอร์ บลู บลัด มูน' ที่กำลังจะเกิดขึ้น มีความพิเศษด้วยกัน 3 ประการ คือ 1.องค์การนาซา ระบุว่า ดวงจันทร์จะมีขนาดใหญ่กว่าพระจันทร์เต็มดวงปกติถึง 14%, 2.ปรากฏการณ์พระจันทร์เต็มดวงเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 1 เดือน จึงเรียกปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า ‘บลูมูน' และ 3.จะเกิดปรากฏการณ์ ‘จันทรุปราคา' พร้อมกับพระจันทร์เต็มดวง ... ความพิเศษทั้ง 3 อย่างนี้ เรียกว่า ‘ลูนาร์ ไทรเฟคตา' โดยปรากฏการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2525 หรือ 35 ปีที่แล้ว
สำหรับ ‘ประเทศไทย' ณ เวลา 20.00 น. ได้เกิด ‘จันทรุปราคาเต็มดวง' แล้ว โดยจันทรุปราคาเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณ 18.00 น. แล้ว ซึ่งจะสามารถชมได้ถึงเวลาประมาณ 23.00 น. ที่จะเป็นช่วงเวลาสิ้นสุดจันทรุปราคา
ส่วน ‘ต่างประเทศ' จะได้เห็น ‘ซูเปอร์ บลู บลัด มูน' ได้ชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบ คือ แถบอเมริกาเหนือ รัฐอลาสกาและรัฐฮาวาย ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องชมในช่วงเวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ขณะที่ ทวีปยุโรปและแอฟริกาจะมองไม่เห็นปรากฏการณ์นี้ เพราะเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันของที่นั่น
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น