พบ 14 กาแล็กซีรวมตัวให้กำเนิด กระจุกดาราจักร ขนาดยักษ์
มีการค้นพบกลุ่มของดาราจักรซึ่งประกอบไปด้วยกาแล็กซีต่าง ๆ เป็นจำนวนถึง 14 กาแล็กซี โดยทั้งหมดกำลังจะชนและรวมตัวเข้าด้วยกัน เพื่อให้กำเนิดแกนกลางของกระจุกดาราจักร (Cluster) เกิดใหม่ ที่มีขนาดมโหฬาร นับว่าเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่หาพบได้ยากยิ่ง
กล้องโทรทรรศน์ขั้วโลกใต้ (South Pole Telescope) ที่ทวีปแอนตาร์กติกา ได้ตรวจจับและบันทึกภาพของจุดสว่างบนท้องฟ้าซึ่งมาจากกลุ่มของ 14 กาแล็กซีนี้ได้ โดยพบว่าเป็นแสงจากเหตุการณ์เมื่อ 12,000 ล้านปีก่อน ที่เกิดขึ้นในห้วงอวกาศลึกเกือบสุดขอบเขตของเอกภพที่สามารถสังเกตได้ (Observable Universe ) และแสงนี้เพิ่งเดินทางมาถึงโลก
นายทิม มิลเลอร์ นักศึกษาวิจัยระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยเยลในสหรัฐฯ ผู้เขียนรายงานการค้นพบดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature ระบุว่า
จากการคำนวณพบว่าเหตุการณ์ที่กาแล็กซีกลุ่มดังกล่าวกำลังจะรวมตัวเข้าด้วยกัน ได้เกิดขึ้นเมื่อจักรวาลยังมีอายุราว 1,400 ล้านปี ซึ่งจัดว่าเป็นช่วงที่จักรวาลเพิ่งถือกำเนิดขึ้นใหม่ ๆ
กล้องโทรทรรศน์ขั้วโลกใต้ (South Pole Telescope) ที่ทวีปแอนตาร์กติกา ได้ตรวจจับและบันทึกภาพของจุดสว่างบนท้องฟ้าซึ่งมาจากกลุ่มของ 14 กาแล็กซีนี้ได้ โดยพบว่าเป็นแสงจากเหตุการณ์เมื่อ 12,000 ล้านปีก่อน ที่เกิดขึ้นในห้วงอวกาศลึกเกือบสุดขอบเขตของเอกภพที่สามารถสังเกตได้ (Observable Universe ) และแสงนี้เพิ่งเดินทางมาถึงโลก
นายทิม มิลเลอร์ นักศึกษาวิจัยระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยเยลในสหรัฐฯ ผู้เขียนรายงานการค้นพบดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature ระบุว่า
จากการคำนวณพบว่าเหตุการณ์ที่กาแล็กซีกลุ่มดังกล่าวกำลังจะรวมตัวเข้าด้วยกัน ได้เกิดขึ้นเมื่อจักรวาลยังมีอายุราว 1,400 ล้านปี ซึ่งจัดว่าเป็นช่วงที่จักรวาลเพิ่งถือกำเนิดขึ้นใหม่ ๆ
-------
ผู้เชี่ยวชาญในวงการดาราศาสตร์มองว่า เหตุการณ์นี้มีความสำคัญต่อการศึกษาเรื่องการก่อตัวของกระจุกดาราจักรและกำเนิดจักรวาลอย่างมาก เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่หาพบได้ยาก การที่ดาราจักรประเภทนี้ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดดาวกระจาย (Starburst galaxy) จะรวมตัวเข้าด้วยกันแม้ในจำนวนน้อยเพียง 2 กาแล็กซีขึ้นไปนั้น ที่ผ่านมาก็ยังหาพบได้ยากมาก
ทั้งนี้ ดาราจักรชนิดดาวกระจายคือแหล่งให้กำเนิดดาวฤกษ์ใหม่ที่สำคัญของจักรวาล โดยสามารถเพิ่มจำนวนดาวฤกษ์ในตัวเองขึ้นได้อย่างมากและรวดเร็วกว่าอัตราการให้กำเนิดดาวฤกษ์ของกาแล็กซีทางช้างเผือกถึง 1,000 เท่า
ภาพของ 14 กาแล็กซีที่กล้องโทรทรรศน์บันทึกไว้ได้ โดยปรากฏให้เห็นเป็นจุดสว่างบนท้องฟ้า
ผู้เชี่ยวชาญในวงการดาราศาสตร์มองว่า เหตุการณ์นี้มีความสำคัญต่อการศึกษาเรื่องการก่อตัวของกระจุกดาราจักรและกำเนิดจักรวาลอย่างมาก เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่หาพบได้ยาก การที่ดาราจักรประเภทนี้ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดดาวกระจาย (Starburst galaxy) จะรวมตัวเข้าด้วยกันแม้ในจำนวนน้อยเพียง 2 กาแล็กซีขึ้นไปนั้น ที่ผ่านมาก็ยังหาพบได้ยากมาก
ทั้งนี้ ดาราจักรชนิดดาวกระจายคือแหล่งให้กำเนิดดาวฤกษ์ใหม่ที่สำคัญของจักรวาล โดยสามารถเพิ่มจำนวนดาวฤกษ์ในตัวเองขึ้นได้อย่างมากและรวดเร็วกว่าอัตราการให้กำเนิดดาวฤกษ์ของกาแล็กซีทางช้างเผือกถึง 1,000 เท่า
----
กลุ่มของ 14 กาแล็กซีที่ค้นพบนี้ ตั้งอยู่ชิดกันอย่างหนาแน่นภายในห้วงอวกาศที่กว้างกว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกเพียง 4-5 เท่า ซึ่งเท่ากับว่าดาราจักรทั้งหมดเบียดเสียดแออัดกันอยู่อย่างเหลือเชื่อ เสมือนนำเอาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะทั้งหมดมาใส่ลงในที่ว่างระหว่างโลกและดวงจันทร์
อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์ยังไม่ทราบได้ว่า กลุ่มของกาแล็กซีที่หนาแน่นสูงดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไรในช่วงที่จักรวาลยังมีอายุน้อย ทั้งยังเกิดขึ้นก่อนยุคที่การก่อตัวของดาวฤกษ์จะอยู่ในอัตราสูงสุดถึงราวหนึ่งพันล้านปี
ดาราจักรชนิดดาวกระจาย (Starburst galaxy) อย่าง NGC 1569 เป็นแหล่งให้กำเนิดดาวฤกษ์ใหม่ โดยสามารถเพิ่ม
กลุ่มของ 14 กาแล็กซีที่ค้นพบนี้ ตั้งอยู่ชิดกันอย่างหนาแน่นภายในห้วงอวกาศที่กว้างกว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกเพียง 4-5 เท่า ซึ่งเท่ากับว่าดาราจักรทั้งหมดเบียดเสียดแออัดกันอยู่อย่างเหลือเชื่อ เสมือนนำเอาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะทั้งหมดมาใส่ลงในที่ว่างระหว่างโลกและดวงจันทร์
อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์ยังไม่ทราบได้ว่า กลุ่มของกาแล็กซีที่หนาแน่นสูงดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไรในช่วงที่จักรวาลยังมีอายุน้อย ทั้งยังเกิดขึ้นก่อนยุคที่การก่อตัวของดาวฤกษ์จะอยู่ในอัตราสูงสุดถึงราวหนึ่งพันล้านปี
---
"แต่ที่แน่ ๆ การชนและรวมตัวกันของ 14 กาแล็กซีนี้ ได้ให้กำเนิดแกนกลางของกระจุกดาราจักรหรือคลัสเตอร์ใหม่ ที่มีขนาดมโหฬารยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยอาจจะมีขนาดเท่ากับกระจุกดาราจักรขนาดยักษ์ Coma Cluster ซึ่งกินพื้นที่บนท้องฟ้าที่เรามองเห็นได้กว่า 4 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวง ทั้งยังมีมวลเท่ากับดวงอาทิตย์ 10 ล้านล้านดวง" นายมิลเลอร์กล่าว
มีดาวฤกษ์เกิดใหม่โดยเฉลี่ยปีละ 1 ดวงในกาแล็กซีทางช้างเผือก
"แต่ที่แน่ ๆ การชนและรวมตัวกันของ 14 กาแล็กซีนี้ ได้ให้กำเนิดแกนกลางของกระจุกดาราจักรหรือคลัสเตอร์ใหม่ ที่มีขนาดมโหฬารยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยอาจจะมีขนาดเท่ากับกระจุกดาราจักรขนาดยักษ์ Coma Cluster ซึ่งกินพื้นที่บนท้องฟ้าที่เรามองเห็นได้กว่า 4 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวง ทั้งยังมีมวลเท่ากับดวงอาทิตย์ 10 ล้านล้านดวง" นายมิลเลอร์กล่าว
>>>>
Cr::: BBC THAI
กระจุกดาราจักร Coma Cluster ประกอบด้วยดาราจักรอย่างน้อย 1,000 กาแล็กซี
Cr::: BBC THAI
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น