กาแล็กซีทางช้างเผือกเขมือบดาราจักรอื่นไปแล้ว 15 แห่ง
นับแต่กาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way) ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ 1.35 หมื่นล้านปีก่อน ดาราจักรที่ถือเป็นบ้านของเราได้กลืนกินดาราจักรอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงเข้าไปแล้วอย่างน้อย 15 แห่ง
รายงานวิจัยของทีมนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กของเยอรมนี ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ arXiv.org ระบุว่าหลักฐานที่พบใหม่ในกระจุกดาวทรงกลม (Globular cluster) ซึ่งกระจายอยู่ทั่วกาแล็กซีทางช้างเผือก ช่วยบ่งบอกถึงพฤติกรรมกลืนกินดาราจักรอื่น ๆ ในอดีตที่ผ่านมาได้
มีการศึกษาถึงอายุของกระจุกดาวทรงกลมเหล่านี้ รวมทั้งชนิดและปริมาณของโลหะหนักที่มีอยู่ในกระจุกดาวทรงกลมขนาดใหญ่ 61 แห่ง ทำให้ทราบถึงที่มาของพวกมัน ซึ่งน่าจะเป็นมวลสารจากดาราจักรอื่น ๆ ที่ถูกดูดกลืนเข้ามาเมื่อกว่าหมื่นล้านปีมาแล้ว
ดร. ดีเดอริก กราจ์เซน ผู้นำทีมนักดาราศาสตร์ดังกล่าวบอกว่า องค์ประกอบของกระจุกดาวทรงกลมเหล่านี้อุดมไปด้วยโลหะและก่อตัวขึ้นเมื่อกาแล็กซีทางช้างเผือกยังมีอายุน้อย แสดงว่าดาราจักรของเราได้กลืนกินดาราจักรที่มีขนาดใหญ่กว่าเข้าไปแล้วราว 12 แห่ง ในช่วงก่อกำเนิดจนถึง 1.2 หมื่นล้านปีแรก
ทีมนักดาราศาสตร์ยังได้ตรวจพบกระจุกดาวทรงกลมขนาดเล็กที่มีโลหะปะปนอยู่น้อยหลายแห่ง ซึ่งแสดงว่าในช่วงเวลาราวหนึ่งพันล้านปีมานี้ กาแล็กซีทางช้างเผือกได้กลืนกินดาราจักรเพื่อนบ้านเข้าไปอีก 3 แห่ง ซึ่งรวมถึงดาราจักรแคระแห่งหนึ่งที่กำลังถูกกลืนกินอยู่ในขณะนี้ด้วย
ทั้งนี้ กาแล็กซีทางช้างเผือกเป็นดาราจักรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในกลุ่มของดาราจักรท้องถิ่น (Local group) ซึ่งมีดาราจักรอื่น ๆ ราว 60 แห่งอยู่โดยรอบ ดาราจักรแคระอย่างเมฆแมเจลแลนใหญ่และเมฆแมเจลแลนเล็ก ซึ่งอยู่ห่างจากโลกไม่ถึง 2 แสนปีแสง อาจถูกกาแล็กซีทางช้างเผือกกลืนกินได้ในอนาคต
Cr:::bbcthai
รายงานวิจัยของทีมนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กของเยอรมนี ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ arXiv.org ระบุว่าหลักฐานที่พบใหม่ในกระจุกดาวทรงกลม (Globular cluster) ซึ่งกระจายอยู่ทั่วกาแล็กซีทางช้างเผือก ช่วยบ่งบอกถึงพฤติกรรมกลืนกินดาราจักรอื่น ๆ ในอดีตที่ผ่านมาได้
มีการศึกษาถึงอายุของกระจุกดาวทรงกลมเหล่านี้ รวมทั้งชนิดและปริมาณของโลหะหนักที่มีอยู่ในกระจุกดาวทรงกลมขนาดใหญ่ 61 แห่ง ทำให้ทราบถึงที่มาของพวกมัน ซึ่งน่าจะเป็นมวลสารจากดาราจักรอื่น ๆ ที่ถูกดูดกลืนเข้ามาเมื่อกว่าหมื่นล้านปีมาแล้ว
ดร. ดีเดอริก กราจ์เซน ผู้นำทีมนักดาราศาสตร์ดังกล่าวบอกว่า องค์ประกอบของกระจุกดาวทรงกลมเหล่านี้อุดมไปด้วยโลหะและก่อตัวขึ้นเมื่อกาแล็กซีทางช้างเผือกยังมีอายุน้อย แสดงว่าดาราจักรของเราได้กลืนกินดาราจักรที่มีขนาดใหญ่กว่าเข้าไปแล้วราว 12 แห่ง ในช่วงก่อกำเนิดจนถึง 1.2 หมื่นล้านปีแรก
ทีมนักดาราศาสตร์ยังได้ตรวจพบกระจุกดาวทรงกลมขนาดเล็กที่มีโลหะปะปนอยู่น้อยหลายแห่ง ซึ่งแสดงว่าในช่วงเวลาราวหนึ่งพันล้านปีมานี้ กาแล็กซีทางช้างเผือกได้กลืนกินดาราจักรเพื่อนบ้านเข้าไปอีก 3 แห่ง ซึ่งรวมถึงดาราจักรแคระแห่งหนึ่งที่กำลังถูกกลืนกินอยู่ในขณะนี้ด้วย
ทั้งนี้ กาแล็กซีทางช้างเผือกเป็นดาราจักรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในกลุ่มของดาราจักรท้องถิ่น (Local group) ซึ่งมีดาราจักรอื่น ๆ ราว 60 แห่งอยู่โดยรอบ ดาราจักรแคระอย่างเมฆแมเจลแลนใหญ่และเมฆแมเจลแลนเล็ก ซึ่งอยู่ห่างจากโลกไม่ถึง 2 แสนปีแสง อาจถูกกาแล็กซีทางช้างเผือกกลืนกินได้ในอนาคต
Cr:::bbcthai
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น